Page 64 - kpiebook67011
P. 64
63
เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ส�าหรับอาเรนดท์ขอบเขตสาธารณะคือขอบเขตที่สามารถสร้าง
“ความเป็นจริง” ให้บังเกิด ต่างจากศาสนาและนักปรัชญาโดยส่วนใหญ่ ความจริงไม่ได้ปรากฏอยู่ในโลก
แห่งความคิดที่เป็นส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ผู้คนอื่นไม่อาจสัมผัสร่วมกันถึงประสบการณ์เหล่านั้น
หากแต่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ถูกพบเห็นและสัมผัสร่วมกันได้จริงของผู้คนมากมายที่อยู่ร่วมกันได้
ความเป็นจริง (reality) จึงไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับ “ความจริง” (truth) อันเป็นสิ่งที่มีความเป็นเอก
เป็นลักษณะ และการเมืองของอาเรนดท์สัมพันธ์กับความเป็นจริงที่ว่านี้ และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ความจริงอันสมบูรณ์แม้แต่น้อย
4.4 คุณลักษณะเฉพาะของการแสดงตน (action)
อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วว่าในกิจกรรมทั้งสามประเภทที่เป็นเงื่อนไขของมนุษย์ อาเรนดท์
เห็นว่าการแสดงตนเป็นกิจกรรมที่มีความเป็นการเมืองหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าการเมืองมากที่สุด
โดยเธออธิบายกรอบคิดความคิดทางการเมืองของเธอผ่านแนวคิดเรื่องการแสดงตนนี้และโดยทั่วไปแล้ว
มักใช้ทั้งสองค�านี้ในความหมายที่ใช้แทนกันได้ ส�าหรับการแสดงตนนี้ไม่ได้รวมเพียงกิจกรรมของ
การปฏิสัมพันธ์ทางกายหากแต่รวมถึงกิจกรรมของการใช้วาทะรวมอยู่ด้วย ส�าหรับเธอแล้วค�าพูดหรือ
วาทะ (speech) เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงตนและเป็นสิ่งที่ยืนยันตัวตนของบุคคลในทางการเมือง
และในพื้นที่สาธารณะ และทั้งการแสดงตนและค�าพูดนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้และมีความหมายเพียงแต่
ในพื้นที่สาธารณะเท่านั้น
พื้นฐานส�าคัญของการแสดงตนและวาทะคือความเป็นพหุลักษณ์ของพื้นที่สาธารณะอันเป็นสิ่ง
ที่มีเงื่อนไขที่ส�าคัญอยู่สองประการคือ ความเสมอภาค (Equality) และความแตกต่าง (Distinction)
ด้วยเพราะค�าว่าพหุลักษณ์ของอาเรนดท์คือความเป็นพหุลักษณ์ของสัตตะที่เฉพาะและมีหนึ่งเดียว
(unique being) กล่าวง่าย ๆ คือ มนุษย์แต่ละคนล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเฉพาะ และมนุษย์
105
แต่ละคนจะแสดงความเป็นตัวตนของตนนี้ออกมาผ่านทางการแสดงตนและการใช้ถ้อยค�าและท�าให้ตนเอง
แตกต่างออกไปจากผู้อื่น พื้นที่สาธารณะจึงเป็นพื้นที่เดียวที่จะท�าให้มนุษย์สามารถแสดงความเป็นหนึ่งเดียว
ของตนออกมาโดยไม่ต้องอิงอยู่กับวัตถุหรือสถานะที่จ�ายอมบางประการ ในพื้นที่ส่วนตัวที่มีกิจกรรมอย่าง
แรงงาน มนุษย์ถูกมองจากสถานะที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างความเป็นลูก-แม่ ความเป็นนาย-บ่าว
และส�าหรับกิจกรรมอย่างงาน มนุษย์ก็เป็นที่รู้จักผ่านวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ตนสร้างสรรค์ มีเพียงพื้นที่
สาธารณะที่มนุษย์สามารถปรากฏการขึ้นได้โดยไม่จ�าเป็นที่จะต้องมีสถานะอื่นใด อาศัยเพียงการกระท�า
และค�าพูดของตนที่จะท�าให้ผู้อื่นเห็นและได้ยินและรู้จักได้ พื้นที่สาธารณะจึงเป็นพื้นที่ที่มีไว้ส�าหรับให้
มนุษย์เปิดเผย (reveal) ตัวตนของตนเองออกมาและเป็นพื้นที่ที่ท�าให้มนุษย์อยู่ในลักษณะของการเป็น
“ตัวแสดง” (agent) ที่เป็นกัมมันตะ
105 Ibid., 175-6.