Page 69 - kpiebook67011
P. 69

68      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             เป็นกิจกรรมอันมีลักษณะเสรีและเป็นอัตตาณัติ (autonomy) ทั้งยังเป็นเงื่อนไขสุดท้ายและสูงสุดของมนุษย์

             ก็ท�าให้การแสดงตนไม่สามารถที่จะถูกไถ่ถอนจากกิจกรรมประเภทอื่น ความไม่สิ้นสุดของกิจกรรมอย่าง
             แรงงานอาจถูกไถ่ถอนได้ด้วยความมั่นคงแน่นอนของงาน และการไร้ความหมายของงานก็อาจถูกไถ่ถอนได้

             ด้วยการแสดงตน การแสดงตนไม่สามารถถูกแก้ไขได้ด้วยกิจกรรมอื่นใดนอกจากตัวมันเอง หากการให้อภัยนี้
             เป็นกิจกรรมการแสดงตนประเภทหนึ่ง มันจึงมีศักยภาพ (potentiality) ของการแสดงตนที่จะสามารถ

             แก้ไขสภาพของการย้อนกลับคืนไม่ได้ในกระบวนการที่ถูกริเริ่มขึ้นโดยการแสดงตนเอง อาเรนดท์จึงเสนอ
             ให้ความสามารถในการให้อภัยและความสามารถในการสร้างและรักษาสัญญาเป็นหลักการทางศีลธรรม

             สองประการ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างไปจากหลักการทางศีลธรรมโดยทั่วไปที่เข้าใจกันอยู่ โดยให้เหตุผลว่า
             เป็นหลักการที่สอดคล้องกับพื้นที่ทางการเมือง เนื่องจากเป็นหลักการทางศีลธรรมที่เกิดขึ้นจากภายใน

             กิจกรรมการแสดงตนนั้นเอง ไม่ใช่หลักการทางศีลธรรมที่ได้มาจากการก�าหนดกฎเกณฑ์จากเงื่อนไข
             ภายนอก


                      ดังนั้น พหุสภาวะ (plurality) จึงเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ส�าคัญที่สุดของทั้งการให้อภัยและ

             การให้สัญญา กิจกรรมทั้งคู่นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากซึ่งการปรากฏตัวและการแสดงตนของผู้อื่น
             เพื่อยืนยันการแสดงตนของตนเอง และอาเรนดท์มองว่าการให้อภัยและการสัญญาที่กระท�าเพียงฝ่ายเดียว
             โดดเดี่ยวนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการแสดงบทละครสมมติที่ไม่ได้อยู่ในความเป็นจริงใด ๆ เลย ดังนั้นส�าหรับ

             อาเรนดท์แล้ว การให้อภัยจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะเสมอ กล่าวคือทั้งสองอย่างนี้มิอาจเกิดขึ้น

             จากการกระท�าเพียงล�าพังคนเดียวได้ แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน
             เพราะพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ส�าหรับ “การปรากฏตน” ของสมาชิกเท่านั้นที่จะช่วยยืนยันอัตลักษณ์
             ของกันและกันระหว่างมนุษย์แต่ละคนได้


                      อาเรนดท์มองว่า การให้อภัยเป็นรูปแบบหนึ่งของการปลดปล่อยมนุษย์จากผลลัพธ์ของการกระท�า

             ซึ่งหากว่าไม่มีการให้อภัยเสียแล้ว ความสามารถในการแสดงตนของมนุษย์ย่อมที่จะถูกจ�ากัดขอบเขต

             ให้อยู่กับการกระท�าเริ่มแรกที่เราไม่สามารถกลับไปกู้คืนมาได้อยู่เสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องตกเป็น
                                                        112
             เหยื่อของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระท�าอยู่ตลอด  ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว ลักษณะเช่นนี้ของการให้อภัย
             บ่งชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะของความเป็นการเมืองที่อยู่ภายในตัวของมันอย่างเห็นได้ชัด เพราะมันเป็นสิ่งที่

             เชื่อมโยงอยู่กับความมีเสรีภาพ หากกระนั้นการให้อภัยก็หาได้เป็นการแก้ไขสภาพการณ์ของการแสดงตน

             ที่เกิดขึ้นไปแล้วได้อย่างโดด ๆ เพราะแม้ว่าสภาพของการย้อนกลับไม่ได้ของการแสดงตนอาจแก้คืนโดย
             การให้อภัยได้ หากแต่สภาพของความคาดเดาไม่ได้ของการแสดงตนก็ยังไม่อาจแก้ไขได้ด้วยการให้อภัย
             หรือกิจกรรมในแบบอื่น ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องความคาดเดาไม่ได้ของมัน อาเรนดท์จึงเสนอ

             ให้การให้อภัยจะต้องเกิดขึ้นควบคู่ไปกับ การท�าและการรักษาสัญญา (making and keeping promises)

             อันเป็นกิจกรรมที่สร้างความแน่นอนระดับหนึ่งให้กับอนาคตได้ ส�าหรับอาเรนดท์กิจกรรมทั้งสองนี้




             112   Ibid., 237.
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74