Page 72 - kpiebook67011
P. 72

71






                  5.2 รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองในฐานะของ


                  สัญญาทางการเมือง




                           อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการให้อภัยและสัญญาเป็นสิ่งที่มาพร้อมกันเสมอไม่อาจแยกจาก ส�าหรับ
                  เธอแล้วเรื่องของการท�าสัญญาเป็นเรื่องที่เป็นหัวใจหลักของปรัชญาและความคิดทางการเมืองมาตลอด

                                                               118
                  ระยะเวลาของระเบียบวิธีศึกษาทางด้านดังกล่าวนี้   ความไม่แน่นอนอันเป็นราคาที่มนุษย์จ�าเป็นที่จะ
                  ต้องจ่ายให้กับเสรีภาพ ความเป็นพหุลักษณ์ และความเป็นจริง พร้อมด้วยความเป็นไปไม่ได้ที่จะท�านาย

                  ถึงความเป็นไปและผลลัพธ์จากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือความมืดมน
                  อันเป็นเท่าทวีของกิจการแห่งมนุษย์ที่จะถูกควบคุมไว้ได้ก็แต่โดยความสามารถในการสร้างและรักษาสัญญา

                                        119
                  ของมนุษย์แต่เพียงเท่านั้น

                           อาเรนดท์อธิบายถึงการสร้างและการรักษาสัญญาในฐานะของการเป็นการท�าสัญญา (contract)
                  และ สนธิสัญญา (treaty) ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากการมีการเมืองที่วางอยู่บนการปกครองและการมี

                  องค์อธิปัตย์หรืออ�านาจอธิปไตย และความผิดพลาดในเรื่องของการสัญญาก็คือการที่มันถูกน�าไปใช้
                  อย่างไม่ถูกต้องด้วยการน�ามันไปใช้ควบคุมและกะเกณฑ์ในทุกพื้นที่แห่งอนาคตและวางทางไปสู่ความมั่นคง

                  ของสังคมการเมืองในทุกทิศทางซึ่งส�าหรับบเธอนแล้วนั่นท�าให้มันขาดอ�านาจแห่งการยึดโยงผู้คนในสังคม
                                                                     120
                  เข้าไว้ด้วยกัน จนน�าไปสู่ความการท�าลายตัวมันเองในที่สุด

                           การรักษาเสรีภาพให้ยังมีพื้นที่อยู่ได้ในความสามารถในการท�าและรักษาสัญญาของมนุษย์
                  และการปฏิเสธอ�านาจอธิปไตยในฐานะหน่วยหรือองคาพยพหนึ่งเดียวที่แยกจากความเป็นหมู่มนุษย์
                                                                                                          121
                  ท�าให้เราพอมองเห็นได้ว่า ความแน่นอนของค�าสัญญาส�าหรับอาเรนดท์ ถูกน�าเสนอมาในรูปแบบของ

                  การมีโครงสร้างของระบอบการเมืองที่เอื้อให้ประชาชนมีเสรีภาพ มองโดยทั่วไป ในแง่นี้ ดูเหมือนกับว่า
                  อาเรนดท์จะเสนอสภาพสังคมการเมืองในรูปแบบที่พาผู้คนให้ถอยห่างจากรัฐ และสถาบันการเมือง
                  ที่อย่างไร ก็ย่อมจะต้องจ�ากัดเสรีภาพของประชาชนอยู่แล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาเรนดท์

                  ดูเหมือนจะสนับสนุนให้มนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองในรูปแบบอันไร้รัฐ แต่หากท�าการพิจารณา

                  แนวคิดของเธอในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติและการวิพากษ์ความเดียวดายของโลกสมัยใหม่แล้ว
                  ย่อมท�าให้เห็นความชัดเจนว่า อาเรนดท์สนับสนุนให้สร้างและใช้ระบอบการเมืองที่เอื้อให้ประชาชน
                  มีเสรีภาพและสามารถแสดงตัวตนในพื้นที่ทางการเมืองผ่านสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ได้  และมนุษย์
                                                                                               122

                  118   Ibid., 243–44.
                  119   Ibid., 244.
                  120   Ibid.
                  121   Ibid., 245.

                  122   Steve Buckler, Hannah Arendt and Political Theory: Challenging the Tradition, 1st edition (Edinburgh:
                  Edinburgh University Press, 2012); Roger Berkowitz, ‘The Singularity and the Human Condition’, Philosophy
                  Today 62, no. 2 (6 September 2018): 337–55, https://doi.org/10.5840/philtoday2018522214.
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77