Page 76 - kpiebook67011
P. 76
75
อันเป็นลักษณะของการเมืองเชิงสถาบันหรือการเมืองเชิงอ�านาจ และ สองคือการกล่าวถึงการเมือง
ในความหมายที่มีลักษณะที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งความหมายของการเมืองในลักษณะนี้เป็นความหมายที่เธอ
น�าเสนอผ่านกรอบคิดความคิดต่าง ๆ ในงานเขียนของเธอโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเรื่องการแสดงตน
เป็นส�าคัญทั้งยังเป็นแนวคิดที่ใช้ส�าหรับเป็นพื้นฐานในการต่อยอดเพื่อสร้างแนวคิดอื่น ๆ อีกด้วย
ส�าหรับอาเรนดท์ แน่นอนว่าการเมืองเป็นกิจกรรมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ หากค�าว่าพื้นที่
สาธารณะนี้มีความเฉพาะเจาะจงอยู่ไม่น้อย มันไม่ใช่พื้นที่สาธารณะในเชิงกายภาพที่หมายถึงพื้นที่ที่ผู้คน
แปลกหน้าออกมาใช้พื้นที่ในเชิงกายภาพร่วมกันแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่หมายถึงพื้นที่ในเชิงนามธรรม
หรือพื้นที่ในเชิงความคิดในแบบอื่น ๆ ที่มีลักษณะของความเป็นสาธารณะ กล่าวคือมีลักษณะของ
ความเป็น “สิ่งที่ใช้ร่วมกัน” และ “สิ่งที่ผู้อื่นสามารถเห็นหรือได้ยิน” รวมอยู่ด้วย
ดังนั้น อาเรนดท์จึงอธิบายพื้นที่สาธารณะอันเป็นพื้นที่ส�าหรับการเมืองของเธอด้วยค�าว่า
“โลกแห่งการปรากฏ” (world of appearance) โลก อันเป็นพื้นที่ทั้งเชิงรูปธรรมและนามธรรมที่ผู้คน
สรรสร้างขึ้นมาและใช้มันร่วมกัน ไม่ใช่โลกในเชิงวิทยาศาสตร์กายภาพหรือภูมิศาสตร์ที่ได้เกิดขึ้นก่อน
อยู่แล้วตามธรรมชาติโดยไม่ได้มีมนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่เป็นโลกที่เป็นข่ายใยของความสัมพันธ์ที่มนุษย์
มีต่อกันและกันและโลกอันเกิดจากสิ่งประดิษฐ์สารพันที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นจากสมองและมือของตน
เพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตที่มั่นคงและปลอดภัยของตนนั้น
โลกที่ว่านี้จึงเป็นพื้นที่ที่มนุษย์ปฏิสัมพันธ์กันทั้งในเชิงสังคมและการเมือง ดังนั้นในโลกใบนี้
จึงมีทั้งกิจกรรมที่อยู่ในขอบเขตทางการเมือง (political realm) และขอบเขตทางสังคม (social realm)
ปะปนซ้อนทับกันอยู่อย่างยากที่จะแยกออกจากกันได้ ยิ่งเมื่อการขยายตัวของกิจกรรมในขอบเขต
ทางสังคมได้เข้าครอบง�าพื้นที่ของกิจกรรมอื่น ๆ การซ้อนทับกันของขอบเขตทางสังคมและขอบเขตทาง
การเมืองจึงยิ่งเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันได้ยาก
ส�าหรับอาเรนดท์ พื้นที่ของความเป็น “โลก” แต่เพียงประการเดียวจึงเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอต่อ
การเป็นขอบเขตทางการเมือง เงื่อนไขส�าคัญของโลกใบนี้ที่ขอบเขตการเมืองจะเกิดขึ้นได้จึงเป็นการที่โลกใบนี้
จะต้องเป็นโลกที่ท�าให้ “การปรากฏ” เกิดขึ้นได้ การปรากฏ (appearance) ที่ว่านี้คือการปรากฏของมนุษย์
ในฐานะปัจเจกชนที่ตัวตนของเขาจะ “ถูกเห็น” และถ้อยค�าของเขาจะ “ถูกได้ยิน” หากแต่การถูกเห็น
และถูกได้ยินนี้ไม่ใช่การถูกเห็นหรือถูกได้ยินในเชิงชีวภาพ มันไม่ใช่การปรากฏของการมีร่างกาย
หรือความสามารถในการส่งเสียง หากแต่หมายถึง การมีตัวตนและการมีสิทธิมีเสียงในเชิงอัตลักษณ์
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ส�าหรับอาเรนดท์ การปรากฏขึ้นของมนุษย์ในขอบเขตทางการเมืองเปรียบเสมือน
กับการถือก�าเนิดครั้งที่สอง อันเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากการถือก�าเนิดครั้งแรกอันเป็นการถือก�าเนิดในเชิง
ชีวภาพที่จะถูกเห็นและได้ยินในเชิงร่างกาย