Page 74 - kpiebook67011
P. 74

73







                  มีเสรีภาพนั่นเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีขอบเขตของระบบการเมือง ท�าให้อาเรนดท์จึงสนับสนุน

                  ระบบการเมืองแบบสาธารณรัฐ (republic) แบบอเมริกัน แต่ก็ยังมองว่า นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะขาด
                  การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับรากหญ้า เพราะภายหลังจากการปฏิวัติ สภาท้องถิ่นส่วนนี้กลับหายไป


                           ส�าหรับอาเรนดท์แล้วนั้น การปฎิวัติและการต่อต้านรัฐจะไม่เกิดขึ้น หากมีช่องทางให้พลเมือง

                  มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งดังที่กล่าวเอาไว้ในข้างต้นว่า การขาดสถาบันทางการเมืองที่ยอมให้ประชาชน
                  เข้ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจึงเป็นสาเหตุส�าคัญที่ท�าให้เกิดกระแสการปฏิวัติและความไม่พอใจต่อรัฐ
                  ซึ่งก็สอดคล้องกับการเกิดขึ้นของระบอบการเมืองแบบเบ็ดเสร็จนิยมเอง มีที่มาจากความเดียวดายของ

                  ผู้คนในยุคสมัยใหม่อันสืบเนื่องมาจากการขาดซึ่งช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและการแสดงตน

                  ในทางการเมืองเช่นเดียวกัน ทางออกทางเดียวของผู้คนในยุคสมัยของความเป็นเบ็ดเสร็จนิยมอยู่ที่
                  การที่สมาชิกของชุมชนมีสิทธิที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทางการเมืองและเข้ามีส่วนร่วมในสถาบัน
                                                           126
                  ทางการเมืองของชุมชนทางการเมืองของตนได้  ดังนั้น ส่วนหนึ่งของปัญหาระบอบเบ็ดเสร็จนิยมและ
                  ความวิกฤตของรัฐบาลผู้แทน (representative government) อันเป็นประเด็นร่วมกันของรัฐในโลกสมัยใหม่

                  นั้นล้วนมาจากการขาดสถาบันทางการเมืองที่ยอมให้พลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงได้
                                                                                                          127
                  เช่นเดียวกับที่หากมองจากอีกมุม การอภิปรายถึงระบอบการเมืองหรือรัฐธรรมนูญ ก็บอกเป็นนัยถึง
                  การที่เรามิอาจละเลยสิ่งที่อาเรนดท์ได้ชี้ให้เห็นและแสดงความน่าห่วงใยในประเด็นของความรู้สึกแปลกแยก

                  ที่พลเมืองต่างรู้สึกต่อสถาบันการเมืองในรัฐของตนได้เช่นกัน   เกี่ยวกับประเด็นเรื่องระบอบการเมือง
                                                                        128
                  หรือรัฐธรรมนูญนี้ จะเห็นได้ว่า อาเรนดท์มองกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญในฐานะของ “ก�าแพง” ที่ใช้
                  ล้อมพื้นที่ของการเมืองไว้ภายใน ดังที่เธอได้อธิบายว่าส�าหรับชาวกรีกโบราณแล้ว การบัญญัติกฎหมายถือ
                  เป็นกิจกรรมในประเภทเดียวกันกับการสร้างก�าแพงเมือง กล่าวคือ เป็นกิจกรรมที่จะต้องเริ่มขึ้นและเสร็จ

                                                                 129
                  สิ้นก่อนที่กิจกรรมทางการเมืองจะเป็นสิ่งที่เริ่มต้นขึ้นได้   และกล่าวว่ารัฐธรรมนูญถูกใช้ในศตวรรษที่ 18
                                                                           130
                  ในฐานะของการวางเส้นเขตแดนของปริมณฑลทางการเมืองใหม่  หรือกล่าวอีกนัย รัฐธรรมนูญและ
                  สถาบันทางการเมืองของมันมีความส�าคัญในฐานะของกรอบและกฎเกณฑ์ที่จะสามารถใช้ก�าหนดทิศทาง
                  และลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองได้ และหากไม่มีมันเสียแล้ว พื้นที่หรือปริมณฑลที่จะเข้าท�า

                  การเมืองย่อมเป็นสิ่งที่เกิดไม่ได้นั่นเอง


                  126   Roger Berkowitz, ‘Instituting Freedom: Steve Buckler and Hannah Arendt on an Engaged Political Theory’,

                  European Journal of Political Theory 13, no. 3 (1 July 2014): 373, https://doi.org/10.1177/1474885114527712.
                  127   Hannah Arendt, Crises of the Republic: Lying in Politics; Civil Disobedience; On Violence; Thoughts
                  on Politics and Revolution (New York, NY: Mariner Books Classics, 1972), 89.
                  128   Jeremy Waldron, ‘Arendt’s Constitutional Politics’, in The Cambridge Companion to Hannah Arendt, ed.
                  Dana Villa, Cambridge Companions to Philosophy (Cambridge: Cambridge University Press, 2000), 203,
                  https://doi.org/10.1017/CCOL0521641985.011.
                  129   Hannah Arendt, Margaret Canovan, and Danielle Allen, The Human Condition: Second Edition, 2nd
                  ed. (Chicago, IL: The University of Chicago Press, 2018), 194.
                  130   Hannah Arendt and Jonathan Schell, On Revolution (London: Penguin, 2006), 126.
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79