Page 75 - kpiebook67011
P. 75
74 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
ดังนั้นหากจะถามว่า รัฐธรรมนูญในความคิดของอาเรนดท์วางเส้นเขตแดนของอะไรและ
อย่างไรบ้าง เกี่ยวกับประเด็นนี้ วอลดรอนชี้ให้เห็นว่า การมีรัฐธรรมนูญหรือระบอบการเมืองส�าหรับ
อาเรนดท์นั้นแสดงถึงการขีดเส้นขอบเขตสามประการได้แก่ หนึ่งการมองว่าความเสมอภาคเป็นสิ่งที่
หาได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากเกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ กล่าวคือ รัฐเป็นสิ่งที่ท�าให้
ความเสมอภาคเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ สอง มันเป็นตัวก�าหนดขอบข่ายของการเมือง กล่าวคือเป็นตัว
ขีดเส้นแบ่งระหว่างความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ และสาม มันเป็นรั้วกั้นระหว่างผู้คนในฐานะ
ปัจเจก ซึ่งในขณะเดียวกันก็ท�าการเชื่อมผู้คนเข้าไว้ด้วยกันด้วยการเป็นช่องทางสื่อสารระหว่างกัน
131
เอาไว้ด้วย ซึ่งวอลดรอนได้ให้ความเห็นว่า หากจะมองด้วยความคิดแบบอาเรนดท์ การยอมรับและ
เคารพต่อรัฐธรรมนูญคือการยืนหยัดต่อ “การรักษาสัญญา” อันเป็นสิ่งที่ส�าคัญเสียยิ่งกว่าการท�าสัญญา
ขึ้นมาเสียอีก 132
ถ้าเช่นนั้นค�าถามต่อมาก็คือระบอบการเมืองหรือรัฐธรรมนูญประเภทใดที่อาเรนดท์ให้ความสนใจ
และเชื่อว่าจะสามารถน�าปสู่การให้โอกาสกับพลเมืองในการเข้าร่วมปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองได้ ค�าตอบ
ส�าหรับประเด็นนี้ก็คือระบอบการเมืองหรือรัฐธรรมนูญที่ยังสามารถคง “สปิริต” ของการปฏิวัติไว้ได้
กล่าวคือนอกจากจะช่วยปลดปล่อย (liberate) แล้วยังต้องน�าไปสู่ความมีเสรีภาพ (freedom) ของพลเมืองได้
133
และค�าตอบของการเมืองในรูปแบบดังกล่าวก็คือระบบที่เรียกว่า ระบบสภา (council system) นั่นเอง
โดยแนวคิดเรื่องระบบสภา เป็นแนวคิดที่อาเรนดท์สร้างขึ้นมาจากตัวแบบการปกครองในระบบสหพันธรัฐ
ของอเมริกันเพื่อเป็นทางเลือกจากระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมและแนวคิดเรื่องรัฐในแบบมาร์กซิสต์
134
5.3 การเมืองในความหมายของอาเรนดท์คือ
ประชาธิปไตย
ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว ค�าว่า “การเมือง” ถูกสร้างขึ้นบนกรอบความคิดที่มีความเจาะจงและ
มีความหมายที่เฉพาะ โดยทั่วไปแล้วอาจพบว่าอาเรนดท์จะใช้ค�าว่าการเมืองในสองความหมาย ได้แก่
หนึ่งการใช้ค�าว่าการเมืองในความหมายทั่วไป กล่าวคือในความหมายที่เป็นที่เข้าใจและรับรู้กันโดยทั่วไป
131 Jeremy Waldron, ‘Arendt’s Constitutional Politics’, in The Cambridge Companion to Hannah Arendt, ed.
Dana Villa, Cambridge Companions to Philosophy (Cambridge: Cambridge University Press, 2000), 204–5,
https://doi.org/10.1017/CCOL0521641985.011.
132 Ibid., 212-13.
133 Albrecht Wellmer, ‘Hannah Arendt on Revolution’, Revue Internationale de Philosophie 53, no. 208
(2) (1999): 221.
134 Ibid.