Page 80 - kpiebook67011
P. 80
79
บทที่ 6
การตัดสินในฐานะ
หลักการทางจริยธรรม
ของอาเรนดท์ และ
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
แม้ว่าอาเรนดท์จะไม่เคยให้ค�าจ�ากัดความค�าว่า “การเมือง” อย่างตรงไปตรงมา ทั้งยังแทบ
ไม่เคยอธิบายหรืออภิปรายเรื่องประชาธิปไตยอย่างชัดเจนหรือเป็นกิจจะลักษณะ แต่เมื่อพิจารณาถึง
การให้ความหมายของการเมืองของอาเรนดท์แล้ว หากจะกล่าวว่าการเมืองของอาเรนดท์เป็นค�าพ้อง
ความหมายกับค�าว่าประชาธิปไตย ก็คงไม่ใช่ค�ากล่าวที่ผิด ดังที่กล่าวไปแล้วว่าส�าหรับอาเรนดท์การเมือง
จะต้องวางอยู่บนเงื่อนไขส�าคัญสามประการอันได้แก่ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นพหุลักษณ์
อันหมายถึงการให้ความส�าคัญกับความหลากหลายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งเงื่อนไขทั้ง
สามประการนี้จัดเป็นเงื่อนไขส�าคัญของความเป็นประชาธิปไตยในโลกสมัยใหม่ทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น
การที่อาเรนดท์พยายามขับเน้นให้เห็นถึงลักษณะของ “การท�าการเมือง” ของพลเมืองในยุคกรีกโบราณ
ยังเป็นการพยายามชี้แนะให้เห็นถึงความส�าคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมืองของประชาชน
โดยตรงนอกเหนือไปจากการพยายามเน้นย�้าถึงความส�าคัญของการแสดงตนในฐานะกิจกรรมหลักบน
ขอบเขตทางการเมืองอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ซึ่งมักเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน
แม้ว่าจะมุ่งให้ความส�าคัญกับเสรีภาพ ความเสมอภาค และความแตกต่างหลากหลาย หากแต่ใน
ความเป็นจริงกลับมีพื้นที่ให้กับแนวคิดทั้งสามนี้ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ ภายใต้การปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยแบบตัวแทนอันประกอบไปด้วยสถาบันทางการเมืองที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงจ�านวนมาก
โดยสถาบันทางการเมืองที่เป็นปึกแผ่นนี้เอง กลับเป็นสิ่งที่กีดกันพลเมืองให้ออกห่างจากการเมือง
ออกไปเรื่อย ๆ และการเมืองก็ไม่ได้เป็นกิจกรรมเฉพาะหรือหน้าที่หลักของพลเมืองอีกต่อไป