Page 77 - kpiebook67011
P. 77

76      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







                      โลกแห่งการปรากฏนี้จึงเป็นพื้นที่ที่เหนือไปกว่าการเป็นพื้นที่ในทางกายภาพที่มนุษย์มาชุมนุม

             หรือใช้พื้นที่ร่วมกันในพื้นที่เปิดโล่งที่ผู้คนสามารถมองเห็น แต่เป็นพื้นที่ที่ต้องเอื้อให้การแสดงตนเกิดขึ้นได้
             ด้วยการสร้างเงื่อนไขที่มีความเหมาะสมที่จะให้มนุษย์สามารถแสดงอัตลักษณ์และถ่ายทอดความคิดเห็น

             ของตนเองออกมา พื้นที่ของโลกแห่งการปรากฏจึงเป็นพื้นที่ของ “ความเป็นไปได้” ที่การเมืองและ
             การแสดงตนจะเกิดขึ้น และมันจะเกิดขึ้นเมื่อมันมีเงื่อนไขที่พรักพร้อม นั่นคือมีการมีเสรีภาพที่เพียงพอ

             ต่อการเปิดเผยตัวตนและความคิดของปัจเจกบุคคลโดยไม่ถูกปิดกั้น

                      เสรีภาพบนโลกแห่งการปรากฏนี้น�าไปสู่ลักษณะเฉพาะของพื้นที่ดังกล่าวนี้ในสองประการ

             คือ ความเสมอภาคและความเป็นพหุลักษณ์ (การกระท�าและการพูด ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น) ในโลกแห่ง

             การปรากฏที่มีเสรีภาพเป็นพื้นฐานผู้คนที่แตกต่างหลากหลายจ�านวนมหาศาลจะสามารถเข้ามาใช้พื้นที่นี้
             ได้โดยไม่ต้องปกปิดความแตกต่างที่ตนมีจากผู้อื่น และก็สามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดในมุมมองที่แปลก
             ออกไปจากที่ผู้คนทั่วไปในสังคมมีได้ในขณะเดียวกัน ความเป็นพหุลักษณ์นี้ จึงเป็นลักษณะเฉพาะของ

             ขอบเขตการเมืองที่ไม่ปรากฏให้เห็นในพื้นที่ทางสังคมอื่น ส�าหรับขอบเขตทางสังคมนั้นความเห็นพ้องต้องกัน

             คือสิ่งจ�าเป็น ในเรื่องราวของประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา ความเห็นต่างเป็นสิ่งที่ไม่สามารถด�ารงอยู่ได้
             เนื่องจากจะเป็นสิ่งที่บ่อนท�าลายสถาบันทางสังคมเหล่านี้โดยตรง หากแต่ส�าหรับขอบเขตทางการเมือง
             ความเห็นต่างไม่เพียงเป็นสิ่งที่ไม่ได้ท�าลายความเป็นการเมืองลงไป หากแต่ยังเป็นเงื่อนไขที่ท�าให้การเมือง

             ด�ารงอยู่ได้ (conditio sine qua non) และเป็นเหตุที่ท�าให้การเมืองมีสภาพอย่างที่เป็นอยู่ได้ (conditio

             per quam) เสียด้วยซ�้า 135


                      ในโลกแห่งการปรากฏนี้การมีเสรีภาพยังเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ความเสมอภาคเป็นลักษณะ
             เฉพาะของขอบเขตทางการเมือง เนื่องจากว่าการปรากฏตัวในฐานะของผู้คนที่เท่ากันเป็นเงื่อนไขส�าคัญ
             ที่ท�าให้ผู้คนกล้าที่จะแสดงออกถึงความแตกต่าง ในพื้นที่หรือขอบเขตที่มีโครงสร้างของอ�านาจอันไม่

             เท่าเทียม ผู้คนย่อมเงียบเสียงหากว่าสิ่งที่เขาคิดแตกต่างออกไปเป็นสิ่งที่อาจน�ามาซึ่งความไม่ปลอดภัย

             จากผู้ที่มีอ�านาจที่สูงกว่า เสรีภาพจึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อขอบเขตพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่วาง
             ผู้คนให้อยู่บนความสัมพันธ์เชิงอ�านาจในแนวราบ กล่าวโดยสรุปก็คือ ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว โลกแห่ง
             การปรากฏจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อโลกใบนั้นถูกสร้างขึ้นอยู่บนเงื่อนไขส�าคัญสามประการ เงื่อนไขที่ว่านั้น

             ก็คือ การมีเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นพหุลักษณ์ และสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งการปรากฏ

             ที่ว่านี้ถูกเรียกโดยอาเรนดท์ว่า “การเมือง” ในความหมายที่มากไปกว่าค�าว่าการเมืองในเชิงสถาบันและ
             กฎหมายในแบบที่เข้าใจกันโดยทั่วไป








             135   Hannah Arendt, Margaret Canovan, and Danielle Allen, The Human Condition: Second Edition, 2nd
             ed. (Chicago, IL: The University of Chicago Press, 2018), 7.
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82