Page 73 - kpiebook67011
P. 73

72      ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์







             ในฐานะสัตว์การเมืองของอาเรนดท์หมายถึงบุคคลที่เข้าเกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะภายใต้การรองรับ

                                                             123
             ของสถาบันการเมืองอย่างจริงจังและมีความรับผิดชอบ  ในแง่นี้อาเรนดท์จึงมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐและ
             การเมืองในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับนักทฤษฎีทางสังคมอื่น ๆ ร่วมสมัย ตัวอย่างเช่นรองสิแยร์ (Jacques

             Ranciere) ที่มองรัฐและสถาบันทางการเมืองในฐานะของสิ่งกดขี่เสรีภาพของผู้คนไว้และมีความเห็นว่า
                                                                          124
             เสรีภาพรวมถึงประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่สามารถถือก�าเนิดในรัฐได้  เพราะส�าหรับอาเรนดท์แล้ว
             การมีสถาบันทางการเมืองต่างหากที่จะสามารถช่วยรักษาเสรีภาพและพื้นที่ส�าหรับการแสดงตนทาง
             การเมืองไว้ให้กับสมาชิกในสังคมการเมืองนั้น


                      ท่ามกลางกระแสการปฏิวัติและความไม่พอใจต่อรัฐที่สะพัดไปทั่วโลกในช่วงศตวรรษที่ 20

             อาเรนดท์ มองว่าวิกฤตการณ์ของรัฐบาลผู้แทนในที่ต่าง ๆ นั้นเกิดจากสาเหตุส�าคัญสองประการได้แก่
             1) การขาดสถาบันทางการเมืองที่ยอมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และ 2) “โรคร้าย” สองชนิด
             อันได้แก่ การท�าให้เป็นระบบราชการและแนวโน้มของระบบพรรคการเมืองสองพรรคที่ไม่ได้สามารถเป็น

             ตัวแทนของใครที่ก่อให้เกิดปัญหากับระบบพรรคการเมืองขึ้น  โดยอาเรนดท์เอง สนับสนุนการปฏิวัติ
                                                                  125
             แบบอเมริกา เพราะมองว่าภายหลังปฏิวัติทั่วโลก จิตวิญญาณการปฏิวัติกลับไม่ได้ถูกจัดเก็บเอาไว้
             ทั้งในสถาบันการเมืองใหม่และในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกิดขึ้น ในขณะที่การปฏิวัติอเมริกันเป็นการปฏิวัติ
             ที่ประสบผลส�าเร็จมากที่สุด เพราะเป็นการปฏิวัติเดียวที่มีเป้าหมายสูงสุดของผู้ท�าการปฏิวัติอยู่ที่

             การสร้างรัฐธรรมนูญหรือระบอบการเมืองในฐานะของการเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพอันเป็นสาธารณะ กล่าวคือ

             เป็นระบอบที่สถาบันการเมืองเอื้อให้มีการปกครองตนเองของพลเมือง ผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่น
             ที่สืบแบบแผนมาจากการมีสภาท้องถิ่น (town hall) ซึ่งมีมาตั้งแต่ก่อนมีการปฏิวัติ (220 - 221)
             ซึ่งการกระท�าดังกล่าวท�าให้อาเรนดท์มองว่า การปฏิวัติอเมริกันสามารถเก็บจิตวิญญาณการปฏิวัติ

             เก็บเอาไว้ได้อย่างดี เพราะสามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและดูแลปกครองตัวเองได้

             ยอมให้คนปกครองตนเองได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่ประสบความส�าเร็จสูงสุด หรือจะเรียกว่าได้ว่า
             เป็นการประสบความส�าเร็จเพียงครึ่งทางก็ไม่ผิดนัก เพราะภายหลังการปฏิวัติ อเมริกากลับไม่ได้น�าเอา
             แนวคิดแบบสภาท้องถิ่นมาด้วย


                      ดังนั้นแล้ว สัญญาทางการเมืองของอาเรนดท์ คือระบอบการเมืองที่ยังเก็บรักษาจิตวิญญาณ

             แห่งการปฏิวัติไว้ได้ เพราะนั่นคือการเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมและดูแลปกครองตนเองได้

             เพราะท�าให้การแสดงตนเป็นกิจกรรมอันมีลักษณะเสรีสามารถท�าได้ต่อไป ซึ่งก็สอดคล้องกับการรักษาสัญญา
             ส�าหรับอาเรนดท์ ที่ถูกน�าเสนอมาในรูปแบบของการมีโครงสร้างของระบอบการเมืองที่เอื้อให้ประชาชน


             123   Jeremy Waldron, ‘Arendt’s Constitutional Politics’, in The Cambridge Companion to Hannah Arendt, ed.
             Dana Villa, Cambridge Companions to Philosophy (Cambridge: Cambridge University Press, 2000), 202,
             https://doi.org/10.1017/CCOL0521641985.011.
             124   Jacques Rancière, Dissensus: On Politics and Aesthetics, trans. Steven Corcoran, Reprint edition
             (London New York Oxford New Delhi Sydney: Bloomsbury Academic, 2015), 54.
             125   Hannah Arendt, Crises of the Republic: Lying in Politics; Civil Disobedience; On Violence; Thoughts
             on Politics and Revolution (New York, NY: Mariner Books Classics, 1972), 89.
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78