Page 70 - kpiebook67011
P. 70

69







                                                 113
                  เป็นกิจกรรมที่ “เป็นของกันและกัน”  กล่าวคือต้องเป็นไปด้วยกันเสมอ ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นโดด ๆ ได้
                  เนื่องจากกิจกรรมหนึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้แก้การกระท�าของอดีตในขณะที่อีกหนึ่งกิจกรรมเป็นไปเพื่อสร้าง
                  ความมั่นใจให้กับอนาคต ซึ่งจะช่วยแก้คืนปัญหาทั้งสองเรื่องของการสดงตนได้พอดี


                           ในการที่จะน�าเสนอและอภิปรายแนวคิดเรื่องการให้อภัย อาเรนดท์เลือกที่จะใช้พระเยซูแห่ง

                  นาซาเรธเป็นต้นแบบหรือตัวแบบในการท�าความเข้าใจหรือท�าการศึกษา โดยเธอให้เหตุผลว่า แนวคิดของ
                  คริสเตียนเกี่ยวกับการให้อภัยเป็นแนวคิดที่มองว่ามันเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล
                  แตกต่างไปจากแนวคิดก่อนหน้าหรือแนวคิดที่ร่วมสมัยกันอื่น ๆ ในประเด็นนี้ การศึกษาตัวบทท�าให้

                  เห็นได้ชัดเจนว่า คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ของคริสเตียนเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุด

                  แต่เพียงชิ้นเดียวที่กล่าวถึงการให้อภัยในความหมายที่คล้ายคลึงกับการที่เราเข้าใจเรื่องการให้อภัยในปัจจุบัน
                  ซึ่งเมื่อเทียบกับคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและแนวคิดแบบกรีกโบราณแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าแนวคิดของ
                  ยูดายและกรีกโบราณนั้นยังไม่มีแนวคิดเรื่องการให้อภัยเกิดขึ้น หากแต่เป็นลักษณะของการยกโทษ

                  เสียมากกว่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาเรนดท์พยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าการให้อภัยในแบบที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์

                  ของคริสเตียน มีลักษณะที่เป็น “การเมือง” เช่นเดียวกับการแสดงตนอื่น ๆ 114


                           ลักษณะของการให้อภัยในแบบคริสเตียนนี้ก็คือ มันเป็นการกล่าวถึงการให้อภัยที่เกิดขึ้นระหว่าง
                  มนุษย์ด้วยกันเป็นครั้งแรก ไม่ใช่การให้อภัยระหว่างมนุษย์และพระเจ้า ลักษณะของการให้อภัยในแบบนี้
                  บ่งชี้ถึงลักษณะที่ส�าคัญสองประการคือ หนึ่ง มันเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน

                  กล่าวคือมันขยายเขตแดนจากการเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ที่มีอ�านาจเด็ดขาดอย่างพระเจ้าและ

                  ผู้ไม่มีอ�านาจใดอย่างมนุษย์ไปสู่การเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคนที่มีอ�านาจเท่ากันได้ และสอง
                  มันเป็นกิจกรรมที่ถูกริเริ่มโดยมนุษย์ กล่าวคือเป็นกิจกรรมที่มนุษย์สามารถกระท�าได้เช่นเดียวกับพระเจ้า
                  โดยการริเริ่มด้วยตนเอง หาใช่เพราะมนุษย์เป็นเพียงร่างทรงที่พระเจ้าจะกระท�าผ่านเท่านั้น มองในแง่นี้

                  การให้อภัยจึงมีลักษณะที่พิเศษสองประการของการแสดงตน กล่าวคือเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะของ

                  ความเสมอภาคอยู่ในตัวเอง และเป็นกิจกรรมที่มนุษย์สามารถกระท�าได้ในลักษณะที่มนุษย์เป็นผู้ที่เป็น
                  ตัวแสดงอันเป็นกัมมันตะ เมื่อน�าไปรวมกับแนวคิดที่ว่าการให้อภัยคือการปลดปล่อยแล้ว จะเห็นได้ว่า
                  การให้อภัยมีลักษณะที่สอดคล้องกับการแสดงตนอยู่ไม่น้อย












                  113   Ibid.
                  114   Nathiya Ngarmkham, ‘The Concept of Forgiveness in Hannah Arendt’s Moral Theory: A Preliminary

                  Study of Forgiveness in Political Theory and Political Conflict Resolution’, International Journal of East
                  Asian Studies 23, no. 2 (29 November 2019): 260–75.
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75