Page 71 - kpiebook67011
P. 71
70 ประชาธิปไตยในความคิดของฮันนาห์ อาเรนดท์
อาเรนดท์เลือกที่จะวางการให้อภัยให้อยู่ตรงข้ามกับการแก้แค้น อันเป็นการกระท�าที่เธอกล่าวว่า
อยู่ในรูปแบบของการโต้ตอบหรือการกระท�ากลับต่อการละเมิดที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่การพยายามที่จะท�าให้
วงจรของผลลัพธ์ของการกระท�านั้นจบลง ทั้งยังเป็นการผูกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายไว้กับกระบวนการ
ที่ต่อเนื่องขยายไปไม่จบสิ้นนั้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังเห็นว่า การแก้แค้นยังเป็นการกระท�ากลับที่มี
ลักษณะที่เป็นไปอย่างธรรมชาติและเป็นอัตตาณัติ เป็นสิ่งที่ถูกคาดเดาได้ว่าจะต้องเกิดขึ้น ตรงกันข้ามกับ
การให้อภัยที่เป็นการกระท�าที่คาดหวังไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้น เป็นการกระท�าที่เกิดสิ่งใหม่ๆ และไม่ได้ผูกอยู่
ใต้เงื่อนไขจากการกระท�าเดิม ๆ
ดังนั้นในแง่นี้จึงอาจกล่าวได้ว่า การให้อภัยเกี่ยวเนื่องกับเสรีภาพอย่างน้อยในสองมิติ ได้แก่
การตัดให้หลุดพ้นจากวงจรที่เป็นอยู่เดิมท�าให้ทั้งผู้ให้อภัยและผู้ได้รับการอภัยสามารถเริ่มต้นความสัมพันธ์
ใหม่ ๆ ร่วมกันได้ และการที่การให้อภัยเป็นการแสดงตนที่ไม่ได้ถูกก�าหนดจากการกระท�าเดิม ๆ ที่เป็น
เงื่อนไข แสดงให้เห็นว่า การให้อภัยมีลักษณะที่เป็นเสรีภาพในตัวเองโดยไม่ได้ถูกก�าหนดมาก่อน
ในเรื่องของการปลดปล่อยหรือความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเสรีและการให้อภัยนี้ หากพิจารณา
ในเชิงนิรุกติศาสตร์เราอาจพบร่องรอยของความสัมพันธ์นี้ชัดเจนขึ้นอีก ในคัมภีร์พันธสัญญาใหม่
มีค�าภาษากรีกคอยเน่ที่ใช้ส�าหรับแสดงถึงความหมายของการให้อภัยอยู่สี่ค�า ได้แก่ apoluo, charizomai,
aphiemi และ aphesis สามในสี่ของค�าเหล่านี้อันได้แก่ apoluo, aphiemi และ aphesis ต่างก็มีนัยยะ
115
และความหมายที่หมายถึงการปล่อยหรือการท�าให้มีเสรีด้วยกันทั้งสิ้น โดยที่ apoluo โดยปกติแล้ว
จะมีความหมายถึงการปล่อยหรือการสละ ในขณะที่ aphiemi และ aphesis ให้ความหมายถึงการปลดปล่อย
หรือการท�าให้เป็นอิสระจากบาป จึงไม่น่าแปลกใจว่า ส�าหรับอาเรนดท์แล้ว การให้อภัยจึงมีนัยยะ
116
ของเสรีภาพแฝงอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่จะถูกน�ามาใช้ส�าหรับพื้นที่ขอบเขต
ทางการเมืองเนื่องจากมีความสอดคล้องไม่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด
นอกจากนี้ อาเรนดท์ยังเห็นว่าการให้อภัยนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้กับการแสดงตนที่ผู้แสดงตน
กระท�าไปด้วยความพลั้งพลาด หรือไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้รู้หรือสามารถรู้ในการกระท�าและผลของ
การกระท�าตนนั้น กล่าวง่าย ๆ คือ การกระท�าความผิดนั้นจะต้องเป็นการกระท�าความผิดที่ไม่ได้ตั้งใจ
ที่จะใช้การกระท�านั้นของตนเป็นเครื่องมือเพื่อน�าไปสู่เป้าหมายที่จะไปละเมิดผู้อื่นแต่ต้น อย่างที่ได้กล่าว
ไปแล้วว่า ส�าหรับอาเรนดท์ การให้อภัยเป็นกิจกรรมที่ถูกน�ามาใช้เพื่อเป็นการไถ่ถอนกิจกรรมการแสดงตน
เท่านั้น มันไม่สามารถที่จะน�าไปใช้กับกิจกรรมประเภทงานได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากเกิดกรณีของการผิดพลาด
ที่เกิดจากความตั้งใจ กิจกรรมนั้นจะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการแสดงตน หากแต่เป็นกิจกรรมที่ถูกวาง
เป้าหมายและเครื่องมือไว้ก่อน และในกรณีนั้น การกระท�าเช่นนั้นจะไม่สามารถที่จะถูกไถ่ถอนคืนไปด้วย
การให้อภัยได้ หากแต่จะต้องถูกน�าไปพิจารณากับกิจกรรมที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันเท่านั้น 117
115 Ibid., 267-68.
116 Ibid., 269.
117 Ibid., 272-73.