Page 246 - kpiebook66030
P. 246

สรุปการประชุมวิชาการ
     2   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           เนื่องจากคนมลายูทำงานราชการมากขึ้น ปัญหาเรื่องการสื่อสารระหว่างหน่วยงานราชการกับ
           ชาวบ้านลดลง ทำให้บรรยากาศในภาพรวมของผู้คนกลุ่มหนึ่งก็พบว่าเงื่อนไขที่จะให้ใช้
           ความรุนแรงลดลง หากแต่อยากมุ่งเน้นเห็นการพัฒนาพื้นที่มากกว่า


                 ขณะเดียวกัน ด้วยกระแสทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ปรากฏขึ้นในพื้นที่ส่วนกลาง
           ของไทย ก็ส่งผลไม่น้อยต่อการเคลื่อนไหวประเด็นทางสังคมในพื้นที่ชายแดนใต้ ด้วยกับกระแส
           การเมืองของคนรุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับการตั้งคำถามต่อชุดความคิดและค่านิยมของสังคมในแบบ
           เดิมหลายประเด็น กระแสสังคมเหล่านี้ก็ถูกนำมาพูดถึงในพื้นที่ชายแดนใต้โดยเฉพาะในกลุ่ม
           คนรุ่นใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน และเห็นถึงการมองความเกี่ยวข้องของการพัฒนาพื้นที่ที่เชื่อมร้อย

           กับบรรยากาศของการมีสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

                 ปัจจัยเชิงโครงสร้าง

                 สำหรับปัจจัยเชิงโครงสร้างในมิติด้านการเมืองการปกครอง รวมถึงระบบกฎหมาย

           ที่เชื่อมต่อการทำให้เงื่อนไขของความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่ยังคงอยู่ หากจะนำไปสู่
           การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งก็จำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล รัฐธรรมนูญ ระบบการเมืองเน้นแนวทาง
           การกระจายอำนาจหรือการเปิดพื้นที่ที่ทำให้สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเจตจำนงทาง
           การเมืองของผู้คนในพื้นที่ได้อย่างเสรี รวมถึงการมีกฎหมายที่จะส่งผลต่อการสร้างบรรยากาศ

           ที่ทำให้เงื่อนไขของความขัดแย้งลดลงได้จริง ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง หรือ
           การสนับสนุนการพูดคุยให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องอย่างแท้จริง ตลอดจนการมีกลไก
           เชิงกฎหมายที่มาสนับสนุนจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยทำให้ความขัดแย้งในพื้นที่
           ชายแดนใต้สามารถขยับไปสู่ขั้นตอนของการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งได้


                 งานวิจัยของ สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ และคณะ (2563) เรื่อง การกลับคืนสู่สังคม
           ของกองกำลังติดอาวุธในจังหวัดชายแดนใต้ผ่านการศึกษาเปรียบเทียบกับกลไกของอาเจะห์และ
           มินดาเนา ได้อธิบายว่ากระบวนการยุติธรรมทางเลือกจำเป็นต้องเกิดขึ้น เพื่อสามารถชดเชย

           และเยียวยาความเสียหายตลอดจนสลายความคับข้องใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งยังสามารถ
           เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดในการเดินหน้าการพูดคุยสันติภาพ และฟื้นฟูความชอบธรรม
           ของรัฐในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นต้องรองรับการวางอาวุธ
           การปลดประจำการและการกลับคืนสู่สังคมของผู้มีความเห็นต่างที่ติดอาวุธ โดยมีข้อเสนอแนะ
           จากงานวิจัยว่าในกระบวนการกลับคืนสู่สังคมสำหรับกรณีชายแดนใต้นี้ ควรมีกระบวนการ

           ที่เริ่มจากกระบวนการเจรจาสันติภาพที่มีความจริงใจ พร้อมทั้งการมีเจตจำนงทางการเมือง
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   ที่แน่ชัดของทั้งฝ่ายไทยและกลุ่มผู้เห็นต่าง รวมถึงการมีบทบาทขององค์กรที่ไม่ใช่รัฐทั้งในและ

           ต่างประเทศที่เข้ามาช่วยหนุนเสริม ทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการเจรจายังจำเป็นต้องมี

           การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างทั้งสองฝ่ายผ่านนโยบายที่ชัดเจนและการรับประกันถึง
           ความปลอดภัย รวมถึงให้ทุกฝ่ายในสังคมที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม และเมื่อเข้าสู่
           กระบวนการกลับคืนสู่สังคมแล้ว จำเป็นที่จะต้องเป็นกระบวนการที่โปร่งใส ไม่ถูกใช้เป็น
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251