Page 249 - kpiebook66030
P. 249
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
หรือการซื้อเสียงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการกำหนดผลแพ้ชนะของการเลือกตั้งในแต่ละเขต
หลักการศาสนาจึงถูกนำมาอธิบายถึงความชอบธรรมในการให้สินบนที่พวกเขาเรียกว่าน้ำใจ
และพยายามอธิบายว่าสินน้ำใจดังกล่าวไม่เข้าข่ายริชวะฮ์ แม้ว่าในตัวบทของหลักการในศาสนา
อิสลามจะไม่เป็นที่อนุญาตให้จ่ายริชวะฮ์ แต่ในการปฏิบัติจริงมักจะมีการ “เลี่ยงบาลี” เพื่ออ้าง
ความชอบธรรมของการจ่ายริชวะฮ์อยู่จนเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในสังคม”
จากอดีตนักรบที่เคยอุทิศตนในการต่อสู้และเคยเสียสละทั้งแรงกายและกำลังทรัพย์ของ
พวกเขาให้กับขบวนการต่อสู้ที่พวกเขาสังกัด เมื่อพวกเขาตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมืองที่จะต้อง
ใช้ทุนสูงในการขับเคลื่อนงาน สิ่งที่พวกประสบพบเจอก็คือความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง
เพราะพวกเขาไม่มีกำลังทรัพย์ที่เพียงพอสำหรับสนามดังกล่าว ที่สำคัญพวกเขาคิดว่าการจะ
อาสาทำงานเพื่อท้องถิ่นไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินให้ชาวบ้านมาเลือกพวกเขาเพราะการกระทำ
ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ส่วนอดีตนักรบที่สามารถชนะการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ พวกเขาเหล่านั้น
สามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นได้ กล่าวคือ แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีเงินจ่ายให้ชาวบ้าน
แต่ทีมบริหารที่ชวนเขามาร่วมทีมจะเป็นคนจ่ายเงินให้ชาวบ้านแทน แม้เขาเองจะรู้อยู่แก่ใจว่า
สิ่งเหล่านั้นผิดทั้งกฎหมายและผิดหลักการอิสลาม แต่เพื่อให้ได้เข้าสู่อำนาจบริหารท้องถิ่นและ
ช่วยเหลือประชาชนหรือพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้นดังที่หวังเอาไว้ พวกเขาก็ต้องยอมจำใจเข้าไปสู่
อำนาจแม้จะไม่ภูมิใจหรือรู้สึกแปลกๆ ภายในใจก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือ พวกเขาเลือกที่จะออก
จากขบวนการต่อสู้เพราะพบว่ามีการกระทำที่ผิดหลักการไม่น้อยในขบวนการ แต่ก็ต้องมาพบ
กับการทำที่ผิดหลักการในสนามการเมืองท้องถิ่นในอีกรูปแบบหนึ่ง เหล่านี้เป็นหนึ่งใน
ข้อท้าทายที่พวกเขาจะต้องประสบพบเจอ ซึ่งก็มีข้อท้าทายอื่นๆ สำหรับพวกเขาอีกนับไม่ถ้วน
นอกจากนี้ อดีตนักรบบางส่วนยังเคยลงสนามการเมืองในระดับชาติด้วย โดยร่วมกับ
นักการเมืองในพื้นที่ที่มีประสบการณ์และนักกิจกรรมเพื่อสังคมก่อตั้งพรรคประชาธรรม และ
สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในปี 2554 แม้จะไม่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แต่คะแนนที่ได้ก็มีจำนวน
ไม่น้อย ส่วนในปี 2557 ก็สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่การเลือกตั้งในครั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ
(อิมรอน ซาเหาะ, 2558) จนมาถึงการเลือกตั้งในปี 2562 พรรคประชาธรรมไม่ได้ส่งผู้สมัคร
รับเลือกตั้งด้วยเหตุผลว่าไม่มีนายทุนสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของพรรค โดยอดีตนักรบ
ที่เคยขับเคลื่อนงานในพรรคสะท้อนว่า การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่พวกเขาไม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
และได้ยุติการขับเคลื่อนพรรคในเวลาต่อมาไม่ใช่เพียงแค่เพราะทุนไม่เพียงพอ แต่พวกเขารู้สึก
ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนการขับเคลื่อนพรรคการเมืองมีนัยยะแอบแฝงที่พวกเขา
ไม่อาจไว้ใจได้ เลยยุติการดำเนินงานของพรรค และหันมาก่อตั้งองค์กรภาคประชาสังคม
เพื่อเป็นพื้นที่รองรับการดำเนินกิจกรรมทางสังคมของอดีตนักรบทั้งหลาย แทนที่พรรคการเมือง
ที่พวกเขาหวังในตอนแรกว่าจะเป็นพื้นที่การต่อสู้แบบสันติวิธีของอดีตนักรบได้ ทว่าไม่ได้เป็นไป
ตามที่พวกเขาเคยคิดเอาไว้ บทความที่ผ่านการพิจารณา