Page 244 - kpiebook66030
P. 244
สรุปการประชุมวิชาการ
2 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
3 มิติ อันประกอบด้วย “1) เงื่อนไขระดับบุคคล ซึ่งเกิดจากกลุ่มที่มีอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐ
การสร้างเงื่อนไขของเจ้าหน้าที่รัฐบางคน ภัยแทรกซ้อน และการใช้ความรุนแรงอันมีเหตุจาก
ความแค้นและความเกลียดชัง 2) เงื่อนไขระดับโครงสร้าง คือ โครงสร้างการปกครองและ
การบริหารราชการ ถึงแม้จะมีการกระจายอำนาจแล้วก็ตาม แต่ประชาชนบางส่วนยังรู้สึก
ไม่สามารถสนองตอบกับความต้องการ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเลือกปฏิบัติ และ
ขาดอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเองอย่างแท้จริง และ 3) เงื่อนไขระดับ
วัฒนธรรม ประชาชนไทยมลายูในพื้นที่บางส่วน รู้สึกแปลกแยกไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย
โดยเห็นว่าการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐบางคนยังขาดความรู้ ความเข้าใจหวาดระแวง และมีอคติ
ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้คนในพื้นที่บางส่วน
ยอมรับหรือเห็นด้วยกับฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ
หยิบยกมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้เพื่อเป้าหมาย
ของตน” ซึ่งจากเงื่อนไขสู่ความขัดแย้งที่ระบุไว้ข้างต้นนี้ ประกอบกับจากข้อมูลการสัมภาษณ์
จะพบว่าทั้งสามมิติล้วนแล้วต้องมองประกอบกันหากจะมองไปสู่แนวทางการแก้ไขความขัดแย้ง
หากพิจารณาจากฐานแนวคิดเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งจะพบว่า ในกระบวนการ
แปรเปลี่ยนความขัดแย้งจากการใช้ความรุนแรงสู่การไม่ใช้ความรุนแรง จะต้องมีปัจจัยประกอบ
สร้างจากสามส่วน ทั้งในระดับบุคคลและความสัมพันธ์ เชิงวัฒนธรรมและเชิงโครงสร้าง
ที่จะเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อให้คนที่เคยใช้ความรุนแรงยุติการใช้กำลังและ
หันมาสู่แนวทางที่ไม่ใช้ความรุนแรง แม้ว่าในกรณีที่เกิดขึ้นกับพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
หากพิจารณาจากข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าบรรยากาศที่จะส่งผลต่อการแปรเปลี่ยน
ความขัดแย้งอาจจะยังไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะการแปรเปลี่ยนระดับ
โครงสร้างที่จะเอื้อต่อการทำให้เกิดพื้นที่ทางการเมืองแบบไม่เกิดความรุนแรง แต่อาจเห็นถึง
ปัจจัยที่ผลักดันให้บรรยากาศมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้คนหันไปใช้อาวุธน้อยลงได้
ปัจจัยระดับบุคคลและความสัมพันธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแปรเปลี่ยนในระดับบุคคล หากมองจากปัจจัยที่หนุนให้คนสนับสนุน
การใช้อาวุธเพื่อเชื่อมร้อยกัน ก็จะพบว่าหากในระดับบุคคลและความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง
ที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนความเชื่อและอุดมการณ์ การรับรู้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์
และข้อเท็จจริงของเหตุการณ์อย่างรอบด้าน ประสบการณ์และการเรียนรู้แนวทางใน
การเคลื่อนไหวที่รอบด้านไม่ใช่เพียงการเห็นในแง่มุมของการใช้อาวุธ ทัศนคติที่เปลี่ยนไปของ
บทความที่ผ่านการพิจารณา ประชาชนในสังคมที่ต่อต้านและไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง พร้อมหนุนเสริมบรรยากาศ
ตัวแสดงท่ามกลางความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นสมาชิกกลุ่มขบวนการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจน
ของการให้พื้นที่ทางการเมืองได้มีที่ทาง ล้วนแล้วแต่จะเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เกิดการแปรเปลี่ยน
ความขัดแย้งได้ นอกจากนั้นแล้วหากพิจารณาจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์จะพบว่า
จุดหักเหสำคัญที่ทำให้บุคคลหนึ่งตัดสินใจที่จะยุติการใช้ความรุนแรงคือประสบการณ์เชิงลบกับ