Page 241 - kpiebook66030
P. 241
สรุปการประชุมวิชาการ 2 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ประสบการณ์จากคนรอบข้างซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มขบวนการและมองว่าเป็นแนวปฏิบัติของ
ผู้กล้าหรือผู้เสียสละเพื่อแผ่นดิน
งานของ Sascha Helbardt (2012) ได้กล่าวถึงเรื่องการปลูกฝังไว้ในบทความเรื่อง
Becoming Patani Warrior: Individuals and Insurgent collective in Southern Thailand
โดยระบุว่า บีอาร์เอ็นปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยมมลายู ดำเนินปฏิบัติการสอดแนมในหมู่บ้าน
และมีการระดมเสียงสนับสนุนจากมวลชน โดยการขยายอุดมการณ์ชาตินิยมมลายูนี้จะเป็นไป
เพื่อระดมหาสมาชิกโดยเฉพาะเยาวชนในชุมชนด้วยเช่นกัน ขณะที่งานของ รุ่งรวี เฉลิมศรี
ภิญโญรัช (2021) มองในประเด็นเรื่องความเชื่อและการปลูกฝังของกลุ่มขบวนการผ่าน
บทความเรื่อง อิสลามและบีอาร์เอนขบวนการติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ประเทศไทย
(Islam and the BRN’s armed separatist movement in Southern Thailand) ระบุว่า
บทบาทและปัจจัยทางศาสนาก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวมลายูมุสลิมจำนวนมากเข้าร่วมกับ
กลุ่มขบวนการ BRN การก่อเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น ฝ่ายขบวนการมักให้เหตุผลในเชิงของ
ความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอิสลามคือการทำญิฮาดและศาสนานับว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งโดยมี
การบรรจุอยู่ในวาระต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มบีอาร์เอ็นและในฝ่ายนักรบเองก็ถูกปลูกฝัง
ความเชื่อทางศาสนาอย่างเหนียวแน่นและได้นำความเชื่อดังกล่าวเป็นตัวแปรสู่การก่อเหตุและ
ต่อสู้กับฝ่ายกองกำลังความมั่นคงของรัฐไทย
นอกจากนั้นแล้ว งานของรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช (2562) ได้ตั้งข้อสังเกตต่อประเด็น
แนวคิดและอุดมการณ์ของกลุ่มขบวนการ ในบทความเรื่อง “อิสลามกับการต่อสู่ของขบวนการ
ปลดปล่อยปาตานีหลัง 2547” เอาไว้ว่า “ศาสนาอิสลามเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่ง
ในการต่อสู้ของบีอาร์เอ็น ซึ่งแยกไม่ออกจากความเป็นชาติพันธุ์มลายู อิสลามเป็นส่วนหนึ่งของ
อัตลักษณ์ที่ต้องปกป้อง เป็นกรอบคิดในการให้ความชอบธรรมกับการต่อสู้ เป็นแหล่งอ้างอิงถึง
กฎกติกาในการทำสงคราม รวมถึงเป็นกรอบพื้นฐานทางกฎหมายในการสร้างรัฐ” โดยรุ่งรวี
ยังตั้งข้อถกเถียงที่น่าสนใจว่าศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ชาวมลายูมุสลิมเรียกร้อง และอิสลาม
เป็นฐานความชอบธรรมและเป็นกรอบกติกาในการทำสงครามเพื่อปกป้องศาสนาและชาติพันธุ์
มลายู อีกทั้งอิสลามเป็นฐานคิดของรูปแบบรัฐชาติที่ชาวมลายูมุสลิมพึงปรารถนา ขณะที่
นักวิชาการบางท่านก็มองว่า กลุ่มขบวนการเป็นกลุ่มชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อชาติพันธุ์ มองว่า
ศาสนาอิสลามเป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกหยิบมาใช้ในการปลุกเร้าให้คนเข้าร่วมขบวนการเท่านั้น
(McCargo, 2008; Liow& Pathan, 2010; Gunaratna & Acharya, 2012)
ความเชื่อมโยงของความเชื่อที่มาพร้อมกับมิติด้านศาสนาและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์
ก็มักทำให้เห็นว่าผู้เห็นต่างที่มีการปฏิบัติการมักจะได้รับฟังเรื่องราวจากในชุมชนและสถานศึกษา
ซึ่งในประเด็นนี้ก็สอดคล้องกับงานของแพร ศิริดำเกิง (2561) ได้ระบุว่า บุคลิกของคนที่มักจะ
ถูกเชิญชวนเข้าร่วมขบวนการมักจะเป็นผู้เคร่งครัดในทางศาสนา และการเติบโตของอุดมการณ์ บทความที่ผ่านการพิจารณา
ก็มักจะเกิดขึ้นในโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่