Page 238 - kpiebook66030
P. 238
สรุปการประชุมวิชาการ
22 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ความขัดแย้งโดยมากซึ่งเป็นความขัดแย้งที่เกิดภายใน รัฐ หลายๆ ความขัดแย้งยุติลงด้วย
วิธีการเจรจาบนโต๊ะมากกว่าการใช้กองกำลังทางทหารเพื่อยุติความรุนแรง ขณะเดียวกัน
ก็เริ่มเห็นถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนวิธีการของผู้ถืออาวุธจากการใช้กระสุน (Bullet) มาสู่
การลงคะแนนเสียง (Ballots) ผ่านการส่งผู้แทนลงสมัครในทางการเมือง เข้าสู่กระบวนการ
เลือกตั้งเพื่อส่งคนเข้าสภาและต่อสู้ในสภาเพื่อเป็นตัวแทนประชาชนในการเรียกร้องสิทธิมากขึ้น
ในแง่นี้ก็อาจสอดคล้องกับความคิดที่ว่าหากสนับสนุนให้มีกระบวนการแบบประชาธิปไตยที่เสรี
และมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและเป็นที่ยอมรับได้ในสังคมก็มีแนวโน้มที่จะป้องกันและแปรเปลี่ยน
ความขัดแย้งได้ในระดับหนึ่ง (Bächler, 2004)
หากมองจากการทบทวนเอกสารพบว่าการทำความเข้าใจกลุ่มผู้เห็นต่างในกระบวนการ
สันติภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อให้นำไปสู่การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง และงานที่ผ่านมา
ส่วนมากแล้วยังพบว่าเป็นงานที่อธิบายความขัดแย้งในภาพรวมและเสนอแนะแนวทางใน
การแก้ไขปัญหาในรูปแบบที่ต่างกันไป มีงานบางส่วนที่ทำความเข้าใจในเรื่องของความเป็นตัวตน
ของกลุ่มผู้เห็นต่างที่ใช้อาวุธและเน้นไปที่เหตุผลของการเข้าสู่ความขัดแย้ง ซึ่งแน่นอนว่า
เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องเข้าใจ และด้วยองค์ความรู้ที่มีการศึกษาก่อนหน้าไปแล้ว จึงนำมาสู่
การเติมเต็มข้อมูลในมิติของการศึกษากลุ่มคนที่เห็นต่างจากรัฐที่เคยใช้ความรุนแรงและหันมาสู่
การใช้แนวทางทางการเมืองรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย
ที่ต้องการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมต่อไป
2. สรุปเรื่องราวชีวิตในช่วงต่างๆ ของอดีตกองกำลังแนวร่วมปฏิวัติ
แห่งชาติมลายูปาตานี หรือ BRN
ครอบครัวของอดีตกองกำลังแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีค่อนข้างหลากหลาย
กล่าวคือ บางคนเกิดในครอบครัวของขบวนต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี บางคนมีพ่อเป็นแกนนำ
ระดับสูงของขบวนการต่อสู้ ได้เห็นและซึมซับการต่อสู้เพื่อปลดแอดตั้งแต่ยังเด็กๆ บางคน
มีเชื้อสายราชวงศ์ปาตานีเก่า บางคนเป็นลูกของผู้นำศาสนาที่มีตำแหน่งในระดับจังหวัด
ในขณะที่บางคนเป็นลูกของชาวบ้านปกติเหมือนผู้คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ทั้งนี้ เกือบทุกครอบครัว
สนับสนุนให้พวกเขาเอาดีด้านการเรียนหนังสือ บางครอบครัวถึงกับห้ามเข้าร่วมการต่อสู้
แม้กระทั่งยอมโกหกลูกว่าการต่อสู้กับรัฐไทยเป็นบาป เพื่อให้ลูกๆ ไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับการใช้
ความรุนแรงและให้เอาดีด้านการศึกษา
ช่วงชีวิตในวัยเด็กของอดีตนักรบโดยเฉพาะด้านการศึกษา บางส่วนเรียนตาดีกาพร้อมกับ
บทความที่ผ่านการพิจารณา เรียนโรงเรียนประถมของรัฐในวันปกติ เมื่อเรียนจบระดับประถมแล้วก็ไปเรียนต่อที่โรงเรียน
ปอเนาะหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ขณะที่บางคนเรียนโรงเรียนของรัฐตั้งแต่อนุบาลจนต่อ
โรงเรียนประถมของรัฐ และเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในเมืองหลวง และบางส่วนก็เรียนต่อ
สายอาชีวะ โดยคนที่เรียนศาสนาบอกว่าได้รับรู้เรื่องราวโดยเฉพาะประวัติศาสตร์ปาตานีจาก
อุสตาซหรือครูสอนศาสนา ส่วนคนที่เรียนโรงเรียนรัฐมาโดยตลอดได้รับชุดข้อมูลจากเพื่อและ