Page 242 - kpiebook66030
P. 242
สรุปการประชุมวิชาการ
2 2 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ปัจจัยประการต่อมาที่ส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงของกลุ่มขบวนการ คือ ความรู้สึก
ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือจากนโยบายที่ปิดกั้นพื้นที่ของ
ความหลากหลายทางอัตลักษณ์ ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นหลังจากผู้ปฏิบัติการที่ตัดสินใจเข้าร่วมกับ
กลุ่มขบวนการมองว่าประชาชนในพื้นที่หรือกระทั่งครอบครัว คนใกล้ชิดหรือตนเองได้รับ
ประสบการณ์จากการถูกเลือกปฏิบัติหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้สร้าง
เงื่อนไขของการทำให้การใช้อาวุธยังคงเป็นแนวทางที่จำเป็นจะต้องใช้ต่อไป ประวัติศาสตร์
บาดแผลในอดีตและเหตุการณ์บาดแผลหลังปี 2547 เป็นต้นมา ตลอดจนเหตุการณ์การปิดล้อม
ที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นในช่วงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ทำให้เงื่อนไขของ
การใช้กำลังตอบโต้ยังคงปรากฏในการเคลื่อนไหวของกลุ่มติดอาวุธที่เคลื่อนไหวในพื้นที่
ชายแดนใต้/ปาตานี งานของสน นิลศรี (2557) เรื่องปัจจัยและการก่อตัวของเชื้อไฟแห่ง
ความรุนแรงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: บทสำรวจจากเอกสาร ก็ได้มองในประเด็นเดียวกันนี้
ว่า “ความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอยู่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ/
ทรัพยากรที่พวกเขาต้องประสบ การศึกษาที่ไม่สามารถเอื้ออำนวยให้เขามีพลังเอาชนะ
การท้าทายทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม”
ด้วยบาดแผลจากประวัติศาสตร์ การถูกเลือกปฏิบัติและความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
นี้เอง ที่เป็นปัจจัยผลักอีกประการสำคัญที่ทำให้บุคคลหนึ่งเลือกที่จะสนับสนุนกลุ่มขบวนการ
ติดอาวุธและมองว่าเป็นความชอบธรรมที่จะใช้ในการต่อสู้เช่นนี้ การเสียชีวิตภายหลังจาก
การเข้าร่วมการต่อสู้หรือกระทั่งหลังจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจะถูกมองว่าเป็นการเสียชีวิต
แบบ “ชาฮีด” หรือการเสียชีวิตในหนทางศาสนา ฮารา ชินทาโร่ (2019) ได้เขียนถึงเรื่องนี้
ในบทความเรื่อง The Interpretation of Shahid in Patani ว่าการเสียชีวิตในหนทางศาสนานั้น
ไม่ว่าจะเป็นกรณีการสู้รบกับรัฐไทยแล้วเสียชีวิตหรือแม้แต่ประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้มีส่วนใน
การต่อสู้ร่วมกับกลุ่มขบวนขบวนการก็ตาม เมื่อถูกสังหารโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐก็ถูกนับว่า
เป็นการตายชาฮีดได้เช่นกัน กลุ่มขบวนการได้นำวาทกรรม “ญิฮาด” เป็นเหตุผลในการก่อ
ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเพื่อสร้างความชอบธรรมและเป็น
การดึงดูดผู้คนให้เข้ามาร่วมกับกลุ่มขบวนการ ขณะเดียวกันได้หยิบยกวาทกรรมการตายแบบ
ชาฮีดเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่นักรบของตนเอง ในบางชุมชนที่มีกลุ่มขบวนการมีอิทธิพลมากๆ
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีคนถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่รัฐ คนนั้นก็จะมีการทำพิธีกรรมฝังศพแบบ
ผู้ที่ตายชาฮีด คือไม่มีการอาบน้ำศพ ขณะเดียวกันในชุมชนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายรัฐ
อย่างแน่นหนาเมื่อมีการตายในลักษณะเดียวกัน ชาวบ้านลังเลที่จะทำพิธีกรรมฝังศพแบบ
บทความที่ผ่านการพิจารณา อาวุธมองว่าจะสามารถเป็นเครื่องมือต่อรองในการเรียกร้อง และเป้าหมายของการเคลื่อนไหว
ผู้ที่ตายชาฮีด
ความต้องการได้รับเอกราช ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทำให้กลุ่มที่ใช้
และการต่อสู้ก็เพื่อต้องการการปกครองตนเองหรือการเป็นเอกราชจากรัฐไทย ผู้ปฏิบัติการ
ส่วนใหญ่มักจะมีเป้าหมายของการต่อสู้เพื่อเอกราชและเชื่อว่าหลังจากได้รับเอกราชหรือ