Page 245 - kpiebook66030
P. 245
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
องค์กรที่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการไม่สามารถหาเหตุผลของเป้าหมายการต่อสู้ได้ รวมถึง
การผิดหวังต่อผู้นำและแนวปฏิบัติบางเรื่องของกลุ่มเอง นอกจากนั้นยังเป็นเหตุผลเรื่อง
ครอบครัวและความต้องการในการใช้ชีวิตแบบปกติ ที่ส่งผลเป็นอย่างยิ่งทำให้ยุติการสนับสนุน
การต่อสู้โดยใช้อาวุธ แต่อย่างไรก็ตามในระดับบุคคลที่เข้าร่วมขบวนการมาแล้ว มักจะยังคงมี
เจตจำนงทางการเมืองบางประการ เพื่อต้องการพัฒนาพื้นที่
ในประเด็นนี้สอดคล้องกับประเด็นจาก หนังสือเรื่อง “การกลับคืนสู่สังคม: อีกเสียงหนึ่ง
จากชายแดนใต้” (ศุทธนา วิจิตรานนท์ และคณะ, 2563) ปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่เข้าร่วม
โครงการตัดสินใจกลับบ้าน ประกอบด้วย การใช้ชีวิตที่ลำบากและไม่มีศักดิ์ศรี คิดถึงครอบครัว
และห่วงอนาคตของบุตร ปลดระวางจากการเป็นสมาชิกกลุ่มขบวนการฯ รวมถึงความเชื่อมั่น
ในการเข้าร่วมโครงการที่สามารถปลดหมาย/คดีต่างๆ ได้ ซึ่งเหตุผลต่างๆ นั้นก็ต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน อย่างไรก็ตามพบว่ามีข้อท้าทายสำหรับกระบวนการคือ
ความไม่เข้าใจของหน่วยงานรัฐด้วยกันเองที่ส่งผลต่อความไม่ชัดเจนในการปลดหมายต่างๆ
รวมถึงภาระทางเศรษฐกิจของคนที่กลับบ้านต้องแบกรับรวมถึงเรื่องช่องทางการหางานทำ
แม้ว่ามีความช่วยเหลือผ่านชมรมคนกลับบ้านแต่ก็ยังไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง นอกจากนั้นยังมี
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตซึ่งเป็นผลจากความเครียด
ปัจจัยเชิงวัฒนธรรม
ในมิติวัฒนธรรมจะพบว่า ความรู้สึกที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย รวมถึงการได้รับ
การปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ แม้ว่า
ความรู้สึกและการปฏิบัติที่จะเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงก็ยังปรากฏอยู่บ้าง
แต่จากการสัมภาษณ์ รวมถึงการสังเกตการณ์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมชายแดนใต้
ปัจจุบัน จะพบว่าเงื่อนไขในเชิงวัฒนธรรมได้รับการจัดการเพื่อลดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่
ความขัดแย้งมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การส่งเสริมเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม การให้
พื้นที่ในการนำเสนอเรื่องราวทางวัฒนธรรมของความเป็นมลายู กระทั่งการเพิ่มเติมทักษะ
ความไวทางวัฒนธรรม และไวรู้ต่อความขัดแย้งให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐมากยิ่งขึ้น ก็ทำให้
เจ้าหน้าที่รัฐเข้าใจความเป็นพื้นที่มากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะปรากฏให้เห็นการเลือกปฏิบัติอยู่บ้าง
ตัวอย่างที่ทำให้ปัจจัยด้านวัฒนธรรมที่จะเสริมเงื่อนไขของการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ในพื้นที่ชายแดนใต้อาจประกอบด้วยหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือ การส่งเสริมและให้พื้นที่กับ
วัฒนธรรมมลายูซึ่งสามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะได้มากขึ้นผ่านการขับเคลื่อนทางการเมือง เช่น
การมีองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องภาษามลายู การมีสถาบันภาษามลายูไทยแลนด์
มีกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมลายูถูกจัดขึ้นมาในพื้นที่อย่างแพร่หลาย
เป็นต้น นอกจากนั้นหน่วยงานภาครัฐก็ให้ความสำคัญกับมิติด้านภาษาในพื้นที่มากขึ้น เช่น บทความที่ผ่านการพิจารณา
มีป้ายภาษามลายูโดยเฉพาะตัวเขียนยาวีจำนวนมากในพื้นที่ราชการต่างๆ นอกเหนือจากมิติ
ด้านภาษาแล้ว ในส่วนของการสร้างเงื่อนไขของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เข้าใจพื้นที่ก็ลดน้อยลง