Page 247 - kpiebook66030
P. 247

สรุปการประชุมวิชาการ   2
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             เครื่องมือในทางการเมืองเพื่อทำลายหรือหาประโยชน์จากอีกฝ่าย นอกจากนั้นควรมี
             หลักประกันความปลอดภัยที่ให้กับผู้ที่กลับคืนสู่สังคม ตลอดจนหากกระบวนการกลับคืน
             สู่สังคมสามารถเป็นกระบวนการที่ออกแบบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายก็มีแนวโน้มจะทำให้
             กระบวนการสามารถเกิดผลได้มากยิ่งขึ้น และกระบวนการนี้ควรมีการระบุในข้อตกลงเพื่อนำไป

             สู่การออกกฎหมายและบังคับใช้จริง

                   นอกเหนือจากการสร้างระบบกฎหมายและการมีนโยบายที่จะช่วยผลักดันในการลด
             เงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความรุนแรงก็จะพบว่า ปัจจัยเชิงโครงสร้างจากทางฝั่งกลุ่มผู้เห็นต่างเอง
             ก็มีความสำคัญไม่น้อยที่จะส่งผลต่อการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง เมื่อโครงสร้างภายใน

             กลุ่มผู้เห็นต่างยังมุ่งเน้นเรื่องการทหาร และไม่ได้มองว่าในสถานการณ์ที่ฝั่งรัฐไทยยังคงใช้อาวุธ
             ก็ทำให้ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้การปฏิบัติการด้วยอาวุธอยู่ ตลอดจนโครงสร้างของ
             กลุ่มผู้เห็นต่างที่ฝั่งดำเนินการในด้านการเมืองอาจจะเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถเห็นผลได้ชัด

             มากนัก ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่อาจทำให้มองได้ว่าขั้นตอนของการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
             สำหรับพื้นที่ชายแดนใต้ อาจจะยังไม่สามารถขยับไปถึงได้ ถ้าคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ
             ทำให้การพูดคุยนำมาซึ่งข้อตกลงได้

              3. ข้อท้าทายต่อการแปรเปลี่ยนจากการใช้ความรุนแรงสู่พื้นที่ทางการเมือง


                   เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรง เงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดการแปรเปลี่ยน
             ความขัดแย้ง ไปจนถึงแนวทางที่เป็นไปได้ในการขับเคลื่อนทางการเมืองในกรณีที่เจตจำนง
             ทางการเมืองของกลุ่มผู้เห็นต่างยังคงอยู่แต่ให้สามารถมีพื้นที่ทางการเมืองที่จะเอื้อให้เป้าหมาย
             ทางการเมืองสามารถพูดคุยได้ มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนตลอดจนแสวงหาแนวทางใน

             การพัฒนาพื้นที่และเข้าไปมีส่วนร่วมในระดับนโยบายเพื่อแก้ไขและผลักดันให้เกิดเงื่อนไข
             เชิงโครงสร้างที่เอื้อให้เกิดการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งได้ หากมองในแง่มุมนี้แล้วดูเหมือนว่า
             การแปรเปลี่ยนจากการใช้ความรุนแรงสู่พื้นที่ทางการเมืองที่ไม่ใช้ความรุนแรงสำหรับพื้นที่
             ชายแดนใต้ก็มีความเป็นไปได้อยู่บ้าง หากมองแค่เพียงเงื่อนไขระดับบุคคลและเชิงวัฒนธรรม

             แต่เงื่อนไขสำคัญที่สุดคือเงื่อนไขเชิงโครงสร้างยังคงทำให้การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งของพื้นที่
             ชายแดนใต้ในวันนี้ยังดูเหมือนเป็นเป้าหมายที่ยาวไกล

                   ข้อท้าทายหลายประการที่ทำให้การแปรเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างไม่สามารถก้าวไปได้มากนัก
             ข้อท้าทายที่สำคัญอย่างยิ่งที่เป็นผลจากการสัมภาษณ์จากงานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบคือ แนวทาง

             ที่ไม่ชัดเจนของรัฐบาลไทยที่มีต่อกระบวนการพูดคุยและแนวทางจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
             ยังคงมุ่งเน้นแนวทางทางการทหารเป็นหลัก ซึ่งทำให้การเปิดพื้นที่ทางการเมืองและการพูดคุย
             มิติทางการเมืองไม่สามารถพัฒนาไปได้มากนัก อย่างไรก็ตามก็เห็นว่ากระบวนการพูดคุยก็พบว่า
             มีพัฒนาการที่น่าสนใจแม้จะดูเหมือนว่าจะอยู่ในขั้นเริ่มต้นของกระบวนการก็ตาม ทั้งนี้         บทความที่ผ่านการพิจารณา

             นักวิชาการหลายท่านเห็นตรงกันว่ามีความเชื่อมโยงของสถานะการเป็นประชาธิปไตยในประเทศ
             ที่จะมีผลต่อพัฒนาการกระบวนการพูดคุยของพื้นที่ชายแดนใต้ที่จะสามารถพัฒนาไปได้
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252