Page 248 - kpiebook66030
P. 248
สรุปการประชุมวิชาการ
2 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
นอกจากนั้นยังพบว่า ในฝ่ายกลุ่มผู้เห็นต่างก็ยังพบข้อท้าทายที่สำคัญคือ ความไม่เป็น
เอกภาพของขบวนการต่อสู้กลุ่มต่างๆ ตลอดจนภาวะการนำของกลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มติด
อาวุธหลักที่เคลื่อนไหวในปัจจุบันคือกลุ่มบีอาร์เอ็น ไปจนถึงทิศทางของกลุ่มบีอาร์เอ็นเองก็ยังไม่
ปฏิเสธแนวทางการใช้อาวุธที่จะต้องใช้เพื่อปฏิบัติการในพื้นที่อยู่ แม้ดูเหมือนว่าสถานการณ์
จะลดลง แต่การปิดล้อมตรวจค้นของทางฝั่งรัฐไทยก็ยังคงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่มบีอาร์เอ็น
ยังคงเห็นถึงความจำเป็นในการใช้อาวุธอยู่
ขณะเดียวกันปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นจากฝ่ายความมั่นคงก็มีมาตลอดและแม่นยำ
มากขึ้นในช่วงหลังๆ โดยตั้งแต่ปี 2562 จนถึงช่วงเดือนที่แปดของปี 2565 ข้อมูลที่รวบรวม
โดยกลุ่มด้วยใจพบว่ามีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแนวร่วมของขบวนการต่อสู้โดนปิดล้อมตรวจค้นและ
ปะทะจนเสียชีวิตกว่า 80 คน ซึ่งจะมีปรากฏการณ์ในพื้นที่ที่น่าสนใจตามมา คือชาวบ้าน
โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่จะมีการแห่ศพผู้เสียชีวิตจากการปะทะซึ่งพวกเขาถือว่าเป็น
การตายชาฮีด มีการตั้งแถวตะเบ๊ะแบบทหาร บางชุมชนมีผู้คนมาตั้งแถวรอเพื่อส่งศพจากบ้าน
ไปยังสุสานยาวหลายกิโลเมตร ด้วยจำนวนหลายพันคน พร้อมร้องตะโกนด้วยคำว่าเอกราช
ปาตานี นอกจากนี้ยังพบว่ามีคลิปวีดีโอที่เด็กๆ มีการเลียนแบบการแห่ศพเผยแพร่ใน
โลกออนไลน์ ตลอดจนมีคลิปวีดีโอของลูกๆ ของผู้เสียชีวิตที่มีการกล่าวยกย่องการปฏิบัติหน้าที่
ของพ่อและเหมือนจะเอาคืนในอนาคตเผยแพร่ในโลกออนไลน์ด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับแนวทางที่เป็นไปได้หลังจากการแปรเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ของอดีตนักรบ
แล้ว นั้นก็คือการลงสนามการเมืองในระดับท้องถิ่นตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ที่ท้องถิ่นได้รับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้สามารถเลือกผู้นำของท้องถิ่นตนเองได้
ในการเลือกตั้งท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนใต้ล่าสุดที่ผ่านมานี้มีอดีตนักรบลงสมัครรับเลือกตั้ง
จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีทั้งที่ชนะการเลือกตั้งและก็มีที่แพ้การเลือกตั้ง สิ่งที่พวกเขาจะต้องพบเจอ
ในการเมืองท้องถิ่นมีหลากหลายเงื่อนไข เช่น อิทธิพลของผู้มีอำนาจเดิม หรือพวกเขาเอง
ยังถือว่าอ่อนประสบการณ์ในสนามการเมือง หรือการจะต้องมีทุนเมื่อเข้าสู่สนามการเมือง
เป็นต้น เหล่านี้เป็นข้อท้าทายที่พวกเขาจะต้องประสบพบเจอ งานวิจัยเกี่ยวกับการเมือง
การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนใต้ของเอกรินทร์ ต่วนศิริ (2563) มีผลการศึกษา
ที่น่าสนใจ กล่าวคือ “แม้การซื้อเสียงจะปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปในพื้นที่ในการเลือกตั้งทุกระดับ
จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งในการเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนจะต้อง
กระทำ แต่การซื้อเสียงในพื้นที่ต้องมีความหมายมากกว่าการจ่ายเงินจ้างชาวบ้านให้ไป
กาคะแนนเสียงให้ตนอย่างแน่นอน เพราะว่ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จำนวนมากที่ทุ่มเงิน
บทความที่ผ่านการพิจารณา ซื้อเสียงมากกว่าคู่แข่งแต่กลับประสบกับความพ่ายแพ้ นั้นมีความหมายว่าเงินอย่างเดียว
ไม่สามารถที่จะชนะการเลือกตั้งได้”
ในขณะที่บทความวิจัยของ อิมรอน ซาเหาะ, ยาสมิน ซัตตาร์ และอับดุลเอาว์วัล สิดิ
(2565) มีผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวนี้ คือ “ในพื้นที่ชายแดนใต้การให้สินบน