Page 251 - kpiebook66030
P. 251
สรุปการประชุมวิชาการ 2 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ผู้หลักผู้ใหญ่ตลอดจนคนในกองทัพมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำการผิดกฎหมาย ส่งผลให้
ตำรวจน้ำดีไม่สามารถอยู่ในประเทศนี้ได้ เป็นต้น พวกเขาจึงคิดว่ายิ่งสู้สังคมของชาวมลายู
ปาตานียิ่งแย่ลง ปัญหายาเสพติดยิ่งสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาสังคมอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย สวนทาง
กับเป้าหมายเดิมก่อนเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ที่มีเป้าหมายว่าอยากเห็นคุณภาพชีวิตของ
ชาวมลายูดีขึ้นกว่าเดิม พวกเขาจึงคิดว่าควรหาทางอื่นในการต่อสู้เพื่อให้สังคมชายแดนใต้ดีขึ้น
กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาการแปรเปลี่ยนจากการใช้ความรุนแรงสู่การใช้แนวทาง
ทางการเมืองของกลุ่มนักรบของขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานีในพื้นที่ชายแดนใต้
โดยเฉพาะนักรบที่สังกัดกลุ่มบีอาร์เอ็น ไม่ได้ศึกษาการแปรเปลี่ยนของขบวนการต่อสู้
เพราะแนวทางทางการเมืองโดยเฉพาะการพูดคุยเพื่อสันติภาพหรือการเจรจาต่อรองเป็นหนึ่ง
ในยุทธศาสตร์การต่อสู้เดิมของขบวนการอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับบริบทว่าจะเลือกใช้แนวทางใด ทั้งนี้
อดีตนักรบที่มีการแปรเปลี่ยนแนวทางส่วนใหญ่ก็จะมีอายุอานามมากแล้ว และเข้าร่วม
ขบวนการต่อสู้ก่อนปี 2547 ซึ่งหมายรวมว่าพวกเขาต่อสู้มาแล้วมากกว่ายี่สิบปี ส่วนนักรบ
ที่ยังคงปฏิบัติการอยู่ในปัจจุบันเป็นกลุ่มนักรบที่เข้าร่วมหลังปี 2547 ดังนั้นแล้ว การจะรอให้
พวกเขาแปรเปลี่ยนคงไม่ต้องรอจนกว่าพวกเขาจะมีอายุที่มากขึ้น เพราะหากรอจนถึงตอนนั้น
ก็อาจจะมีความสูญเสียมากมายไม่รู้จบหรือหากพวกเขาแปรเปลี่ยนแนวทางไปแล้วก็อาจมี
นักรบรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่อีกก็เป็นได้ ซึ่งก็ต้องทำการศึกษาวิจัยกันต่อไปถึงวิธีการแปรเปลี่ยน
แนวทางการต่อสู้ของนักรบที่ยังน้อย แต่ทว่าหนึ่งในวิธีการที่สามารถเกิดขึ้นได้นั้นก็คือ
กระบวนการพูดคุยสันติภาพ เพราะหากทั้งสองฝ่ายสามารถมีข้อตกลงกันได้แล้วก็ไม่มีเหตุผล
ที่นักรบจะยังคงปฏิบัติการอีกต่อไป เว้นเสียแต่ว่ารัฐไทยจะทำข้อตกลงกับขบวนการต่อสู้เพียง
กลุ่มเดียว แต่กลุ่มอื่นๆ ที่ยังมีนักรบไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าว หรือไม่อาจเกิดนักรบ
กลุ่มใหม่ๆ ที่มองว่ายังคงมีความอยุติธรรมในพื้นที่หรือรากเหง้าของปัญหายังไม่ถูกแก้ไข
ขณะเดียวกันกระบวนสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้เองกำลังถูกตั้งคำถามว่าเป็นการสร้าง
สันติภาพที่เสรีหรือเป็นการสร้างสันติภาพที่ไร้เสรี เพราะที่ผ่านมานอกจากที่ฝ่ายความมั่นคง
จะเน้นหนักไปที่การใช้กำลังปราบปรามและการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ยังมีการควบคุมและ
สถาปนาอำนาจนำผ่านการต่อสู้ทางวาทกรรมหรือการครอบงำทางความคิดผ่านปฏิบัติการ
ทางวาทกรรม การช่วงชิงพื้นที่ตลอดจนช่วงชิวมวลชน การควบคุมพื้นที่ทั้งในทางการเมือง
ทางกายภาพ และในทางสัญลักษณ์ และการผูกขาดการจัดการกับทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
ที่ตอบสนองต่อเป้าหมายทางการเมืองของรัฐ หรือการที่หน่วยงานของทหารมีอำนาจหน้าที่
ตลอดจนมีงบประมาณมากกว่าหน่วยงานของพลเรือนหรือการที่หทหารเข้าไปมีอำนาจใน
หน่วยงานของพลเรือน เป็นต้น ทั้งที่รัฐควรยึดกรอบบรรทัดฐานในการเปิดพื้นที่ทางการเมือง
ตลอดจนการมุ่งเน้นในการสร้างการประนีประนอมระหว่างฝ่ายที่ขัดแย้ง ส่วนการเจรจา บทความที่ผ่านการพิจารณา
สันติภาพควรหวังผลถึงการได้ข้อตกลงทางการเมือง ตลอดจนแนวทางการแบ่งสรรอำนาจ