Page 243 - kpiebook66030
P. 243
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ได้ปกครองแล้วจะสามารถปลดปล่อยประชาชนปาตานีจากการถูกกดขี่ของรัฐไทย ซึ่งวาทกรรมนี้
มักจะเป็นวาทกรรมที่ชักจูงให้มีผู้เข้าร่วมปฏิบัติการได้ อย่างไรก็ตามหากมองเรื่องเป้าหมายสู่
การได้มาซึ่งเอกราชก็พบว่าไม่เพียงแต่กลุ่มที่สนับสนุนแนวทางการใช้อาวุธเท่านั้น แต่กลุ่มที่
ขับเคลื่อนในพื้นที่การเมืองแบบไม่ใช้ความรุนแรงก็มองว่าเรื่องเอกราชจำเป็นต้องกลายเป็นเรื่อง
ที่สามารถถกเถียงและให้ประชาชนในพื้นที่สามารถกำหนดอนาคตของพื้นที่ได้ด้วยตนเอง
ผลจากงานวิจัยของมาร์ค ตามไท (2563) ในเรื่อง สานฝันปาตานีโดยไม่ใช้ความรุนแรง:
การวิเคราะห์จากบทสนทนาเพื่อสร้างจินตนาการใหม่ ที่มองว่าเหตุผลหลักที่ชาวปาตานีซึ่ง
สนับสนุนเอกราชประกอบด้วย “(1) ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของดินแดน (2) เป็นวิธีที่จะได้
อนาคตที่ปรารถนา (3) เป็นพันธะทางศาสนา และ (4) เป็นวิธีจัดการกับความขัดแย้งกับรัฐ
ไทยได้ดีที่สุด เหตุผลที่ (1) (2) และ (3) เป็นเหตุผลที่วางอยู่บนฐาน “คุณค่าศักดิ์สิทธิ์”
ซึ่งเป็นคุณค่าที่แลกเปลี่ยนกับอย่างอื่นไม่ได้และจะเกิดปฏิกิริยาทางลบถ้าคนอื่นพยายาม
โน้มน้าวเสนอของตอบแทนเพื่อให้ทิ้งเสีย ส่วนเหตุผลที่ (4) วางอยู่บนคุณค่าที่จัดการได้โดยที่
รัฐไทยเปลี่ยนวิธีปฏิบัติและเปลี่ยนนโยบายในบางเรื่อง”
ปัจจัยสุดท้ายที่เป็นประเด็นค้นพบจากการเก็บข้อมูลของงานวิจัยชิ้นนี้ มองว่า
ความต้องการในการแสวงหาคุณค่าในตัวเอง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้กลุ่มปฏิบัติการมี
เหตุผลในการสนับสนุนให้ตัวเองเข้าสู่การปฏิบัติการ เนื่องจากเมื่อมีการปลุก “ซามางัต”
(ความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้เพื่อมาตุภูมิ) ผู้ปฏิบัติการก็มักจะมองว่าการปฏิบัติการจะทำให้ตนเอง
มีคุณค่าและกำลังปฏิบัติในสิ่งที่จะเกิดประโยชน์กับพื้นที่บ้านของตนหรือมองว่ากำลังปกป้อง
บ้านของตนนั่นเอง ผู้ใช้อาวุธหลายคนมักจะมองการปฏิบัติการว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของตน
มีเป้าหมาย สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องการจัดการการปกครองชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อน
ความขัดแย้ง (2563) ก็มีข้อค้นพบหนึ่งที่มองเห็นถึงความเชื่อมโยงของการมองเห็นคุณค่า
ในตัวเองที่เชื่อมร้อยกับการใช้ความรุนแรงอย่างมีนัยยะสำคัญ และมองว่าหากมีพื้นที่ที่ทำให้
กลุ่มคนที่ต้องการแสดงออกถึงคุณค่าในการสร้างสังคมที่ดีขึ้น และเป็นสังคมที่อยู่ภายใต้ชุด
คุณค่าที่เชื่อถือและยึดมั่นก็ควรจะมีพื้นที่ให้แสดงออกในเชิงบวกให้เกิดขึ้น
หากกล่าวโดยสรุปแล้ว ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความรุนแรงจะพบได้ตั้งแต่ระดับบุคคลและ
ความสัมพันธ์ ระดับวัฒนธรรมไปจนถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการใช้
ความรุนแรงของผู้ปฏิบัติการ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อจะกล่าวถึงการตัดสินใจเพื่อยุติการใช้ความรุนแรง
ปัจจัยทั้งสามมิติก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมองประกอบกันไป
2. จากความรุนแรงสู่การไม่ใช้ความรุนแรง: ปัจจัยระดับบุคคลและ
ความสัมพันธ์ วัฒนธรรมและเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อการไม่ใช้
ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ บทความที่ผ่านการพิจารณา
จากเอกสารนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 –
2562 ระบุถึงเงื่อนไขที่นำไปสู่ความขัดแย้งของพื้นที่ชายแดนใต้ ที่ประกอบไปด้วยเงื่อนไข