Page 237 - kpiebook66030
P. 237
สรุปการประชุมวิชาการ 22
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
เข้าถึงสิ่งต่างๆ ในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน) ซึ่งเลเดอแรคยังมองว่าในพื้นที่ขัดแย้งจำเป็นต้อง
มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งและสนับสนุนการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งจาก
ทุกฝ่ายในสังคม โดยแบ่งเป็นตัวแสดงสามระดับ คือ ระดับคู่ขัดแย้งหลัก ระดับของผู้นำระดับกลาง
เช่น นักวิชาการ หรือ ภาคประชาสังคม และระดับฐานรากในชุมชน สำหรับเลเดอแรคแล้ว
การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างโครงสร้างที่จะเอื้อให้เกิดสันติภาพระยะยาว
มากกว่าเพียงแค่การวางอาวุธต่อกัน
ในแง่นี้แล้วกระบวนการหนึ่งจากหลายๆ แง่มุมที่อยู่ภายใต้การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ก็คือ การเปิดพื้นที่ในการให้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขที่นำไปสู่ความขัดแย้งผ่านกระบวนการทาง
การเมืองแทนที่ หรืออาจกล่าวง่ายๆ คือ การใช้พื้นที่ทางการเมืองเพื่อเรียกร้องสิทธิแทนการใช้
อาวุธ ในพื้นที่ขัดแย้งหลายแห่งอาจมีประชาชนที่ออกมาใช้พื้นที่ทางการเมืองเพื่อเลือก
นักการเมืองเข้าสู่สภาและคาดหวังว่าจะช่วยในการจัดการกับปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นรวมถึง
เรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานที่เป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรงได้ นอกจากนั้นอาจมีประชาชนที่ใช้
การออกเสียงประชามติเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมือง เช่น กรณีของคาตาลานในสเปน เป็นต้น
วิธีการเหล่านี้เริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น แต่มักปรากฏในประเทศที่มีโครงสร้างทางการเมือง
ที่พร้อมรองรับกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นได้ระดับหนึ่ง (Loizides, 2014)
นอกจากนั้นยังมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านอีกรูปแบบที่อาจเห็นได้ในช่วงหลังจากความขัดแย้ง
ยุติลง นั่นคือ การปรับเปลี่ยนมาสู่การใช้พื้นที่ทางการเมืองของกลุ่มติดอาวุธแทนที่การขับเคลื่อน
ในแบบใต้ดินเช่นที่ผ่านมา ในมิตินี้ปรากฏให้เห็นแค่เพียงในบางพื้นที่ความขัดแย้งเท่านั้นที่
กลุ่มติดอาวุธสามารถทำเช่นนี้ได้ เช่นใน ซิมบับเว แอฟริกาใต้ เป็นต้น ซึ่ง Söderberg Kovacs
(ใน Dudouet, 2009) ให้คำอธิบายว่ากลุ่มติดอาวุธที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับปัจจัยใน 3 ระดับ
ต่อไปนี้ที่จะสามารถเปลี่ยนผ่านสู่พื้นที่ทางการเมืองแบบเลือกตั้งได้ คือ ระดับของความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันภายในกลุ่มในช่วงกระบวนการสันติภาพ ระดับความนิยมของประชาชน
ในพื้นที่โดยรวม และระดับของการยอมรับที่ได้รับจากต่างประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน
ขณะเดียวกันงานของ Veronique Dudouet (2009) ก็ยังเสริมว่าในประเด็นนี้ก็เกี่ยวข้องกับ
เรื่องของโครงสร้างอำนาจและระบบทางการเมืองของแต่ละประเทศว่ามีความเป็นประชาธิปไตย
มากน้อยเพียงใด รวมไปถึงความพร้อมของกลุ่มติดอาวุธในการเข้าสู่พื้นที่ทางการเมือง
ประจักษ์ ก้องกีรติ ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจไว้ว่า ความขัดแย้งแตกต่างเป็นเรื่องปกติ
ทั่วไปในสังคมประชาธิปไตยและสังคมที่มีความหลากหลายของผู้คน ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อ
ให้เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการบริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม ยิ่งสังคมนั้นมีความขัดแย้ง
ก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้การเลือกตั้งเพื่อหาทางออก จึงนับได้ว่าการเลือกตั้งคือการเริ่มต้นสู่
การแก้ปัญหาอย่างสันติ และเป็นกลไกที่จะสามารถแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นของผู้คนใน
การเลือกผู้ที่จะมาปกครอง เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มคนที่ขัดแย้งกันอย่างเปิดเผยภายใต้ บทความที่ผ่านการพิจารณา
กรอบกติกาที่ยอมรับได้ในสังคม (สุเจน กรรพฤทธิ์, 2554) ในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีว่า