Page 234 - kpiebook66030
P. 234
สรุปการประชุมวิชาการ
22 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
วิธีการศึกษา
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เพื่อศึกษาทำความเข้าใจถึงปัจจัยทั้งในแง่ปัจเจก
และสภาพแวดล้อมของกลุ่มผู้เห็นต่างในพื้นที่ชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน (2565)
ที่ส่งผลทำให้เข้าสู่วังวนของการใช้ความรุนแรงและออกจากความรุนแรงผ่านลักษณะของ
การศึกษาเส้นทางชีวิตของผู้คนตั้งแต่วัยเด็ก กระทั่งเข้าสู่การใช้ความรุนแรง ช่วงเวลาที่ใช้
ความรุนแรง ไปจนถึงช่วงเวลาที่ตัดสินใจออกจากการใช้ความรุนแรง เมื่อยุติการใช้ความรุนแรง
แล้วดำเนินชีวิตอย่างไร โดยที่จะเป็นการแสวงหาปัจจัยที่ส่งผลทำให้กลุ่มผู้เห็นต่างหันมาสู่
การใช้หรือสนับสนุนแนวทางทางการเมือง วิธีการเก็บข้อมูลผ่านการศึกษาเอกสารและ
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยจะใช้การเข้าถึงผู้ให้ข้อมูล 2 รูปแบบ คือ
การติดต่อโดยตรงจากเครือข่ายที่นักวิจัยมีจากการทำงานวิจัยที่ผ่านมา และการประสานงาน
ผ่านคนกลางที่เป็นที่ไว้ใจได้สำหรับผู้เห็นต่าง นอกจากนั้นก็จะมีการสังเกตการณ์แบบไม่มี
ส่วนร่วมหากมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องจัดขึ้นระหว่างการศึกษาวิจัย ในการดำเนินงานวิจัยนั้นจะมี
แบบสัมภาษณ์ซึ่งจะมีการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามก่อนแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
ก่อนจะลงมือในการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ ภายหลังจากที่ได้ข้อมูลมาแล้วจะมีการตรวจสอบ
คุณภาพของข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์อีกครั้งก่อนการนำเอาผลไปดำเนินการวิเคราะห์
ข้อมูล
งานวิจัยชิ้นนี้จะเก็บข้อมูลแบบเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้
ภาพรวมของปัจจัยที่ทำให้กลุ่มผู้เห็นต่างหันมาสู่การใช้แนวทางทางการเมือง จากนั้นจึงใช้
เทคนิคการวิจัยแบบศึกษาประวัติชีวิต (Life History) เพื่อให้เข้าใจในตัวผู้ให้สัมภาษณ์อย่าง
รอบด้านมากยิ่งขึ้นและสามารถทำให้เห็นรูปแบบของประวัติช่วงชีวิตต่างๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
เลือกใช้และยุติการใช้ความรุนแรง ในกระบวนการนี้จะมีการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก จากนั้นจะมีการประมวลผลข้อมูล ในระหว่างการเก็บข้อมูลจะมีการใช้
รหัสแทนตัวบุคคล โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลใดๆ โดยงานชิ้นนี้ผู้วิจัยจะต้องคำนึง
ถึงความลับและความปลอดภัยของผู้ให้ข้อมูลเป็นอย่างสูง ทำให้จะต้องระมัดระวังในเรื่อง
การรักษาความลับเป็นอย่างมาก สถานที่ในการสัมภาษณ์จึงเป็นสถานที่ที่มีความยืดหยุ่นตาม
ความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูลเป็นสำคัญ ซึ่งมีทั้งที่บ้านพักอาศัยของผู้ให้ข้อมูล โรงแรมทั้งใน
พื้นที่และนอกพื้นที่ชายแดนใต้ หรือสถานที่อื่นๆ
ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษาบทบาทและแรงจูงใจตลอดจนผลสะท้อน
บทความที่ผ่านการพิจารณา จากรัฐที่สำคัญอย่างกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีหรือ BRN งานชิ้นนี้มุ่งไปที่
ของบทบาท จะเน้นไปที่กลุ่มที่เคยมีส่วนในการใช้ความรุนแรงโดยเฉพาะที่สังกัดในกลุ่มผู้เห็นต่าง
กลุ่มคนเหล่านี้ที่หันกลับมาสู่การสนับสนุนแนวทางทางการเมืองในรูปแบบที่ต่างกันออกไป
โดยจะผู้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครจะเน้นผู้ที่ยินยอมในการเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูล
เป็นสำคัญ ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้นจะมีลักษณะการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเน้น