Page 233 - kpiebook66030
P. 233

สรุปการประชุมวิชาการ   22
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             บทนำ


                   นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมาที่เกิดความรุนแรงระลอกใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้
             จะพบว่าตลอดช่วงเวลาของความขัดแย้งที่ผ่านมา มีความซับซ้อนของเหตุการณ์หลายประการ
             ที่ทำให้เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มีช่วงที่ขึ้นลงไปตามแต่ละช่วงเวลา ทั้งในด้านการเมือง
             ระดับชาติ สภาพเศรษฐกิจ หรือกระทั่งการขับเคลื่อนงานของภาคประชาสังคมทั้งในและ
             ต่างประเทศที่มีความต่อเนื่องและปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีกลุ่มคน

             ที่เห็นต่างจากรัฐซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างจากรัฐและแสดงออก
             ด้วยการใช้ความรุนแรงเพื่อเรียกร้องให้ได้ซึ่งสิ่งที่ต้องการเพื่อขับเคลื่อนทางความคิดมานับตั้งแต่
             ก่อนปี พ.ศ. 2547 มีหลายองค์กรที่ถูกก่อตั้งขึ้นมา เช่น กลุ่ม BRN หรือ Barisan Revolusi

             National (ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี) BNPP หรือ Barisan Nasional
             Pembebasan Patani (ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปาตานี) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อ เป็น
             BIPP โดยเปลี่ยนจาก Nasional เป็น Islam หรือกลุ่ม PULO หรือ Patani United
             Liberation Organization (องค์การปลดปล่อยสหปาตานี) หรือ กลุ่ม GMIP หรือ Gerakan
             Mujahidin Islam Patani (ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปาตานี) เป็นต้น โดยกลุ่มต่างๆ เหล่านี้

             ถูกก่อตั้งขึ้นมาหลังช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ซึ่งเป้าหมายของทุกกลุ่มอาจจะมี
             ความคล้ายคลึงกัน ในแต่ละช่วงปีอาจจะเห็นถึงการมีอำนาจนำของบางกลุ่มเหนือบางกลุ่ม
             แต่จะมีกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา


                   ในช่วงปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เชื่อกันว่ากลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีหรือ
             บีอาร์เอ็นเป็นกลุ่มหลักที่ดำเนินการตลอดมา แต่ก็ปรากฏการเรียกร้องทางการเมืองของ
             กลุ่มอื่นๆ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ สถิติสะสมของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ของ
             ฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 จนถึง

             เดือนกรกฎาคม 2565 มีเหตุการณ์ทั้งหมด 21,614 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 7,382 คน และมีผู้ได้รับ
             บาดเจ็บรวม 13,684 คน อย่างไรก็ตามภายใต้ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานนี้ ก็ทำให้หลายๆ คน
             ที่เคยเข้าสู่การใช้อาวุธและความรุนแรงค้นพบว่า การใช้ความรุนแรงมิอาจนำมาซึ่งเป้าหมาย
             ที่ต้องการคือการปลดปล่อยหรือการทำให้พื้นที่นี้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนได้

             ในบริบทเช่นนี้ทำให้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเห็นถึงกลุ่มของผู้เห็นต่างที่เคยใช้อาวุธแต่กลับหันมาสู่
             การใช้แนวทางทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในแง่มุมของการสนับสนุนกระบวนการพูดคุย

                   บทความชิ้นนี้มีเป้าประสงค์ในการศึกษาทำความเข้าใจกลุ่มผู้เห็นต่างในพื้นที่ชายแดนใต้
             ที่หันมาสู่การใช้แนวทางทางการเมือง ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มผู้เห็นต่าง

             แปรเปลี่ยนมาสู่การใช้แนวทางทางการเมือง รวมไปถึงการผลักสู่การจัดทำข้อเสนอแนะต่อ
             การปรับกระบวนทัศน์ในการทำความเข้าใจกลุ่มผู้เห็นต่างซึ่งอาจมีผลต่อการสนับสนุน              บทความที่ผ่านการพิจารณา
             กระบวนการพูดคุยให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องการวิเคราะห์ถึงข้อท้าทาย
             ของการต่อสู้ในระบบการเมืองการเลือกตั้งของประเทศไทยในภาวะประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในปัจจุบัน
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238