Page 68 - kpiebook66024
P. 68
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ด้วยมติเสียงข้างมากพิเศษ หรือในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน
ก็ยังกำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับเสียงข้างมากที่มีเงื่อนไข
ในการรวมเอาเสียงของพรรคฝ่ายค้านด้วย เป็นต้น
4.2
การกำหนดกลไกพิเศษในการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
โดยมีจุดเชื่อมโยงกับรัฐสภา
นอกจากการกำหนดเรื่องเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่ง และเงื่อนไขในการใช้เสียง
ข้างมากพิเศษ ซึ่งเป็นการสร้างกลไกพิเศษที่เกิดขึ้นในรัฐสภาเองแล้ว รัฐธรรมนูญ
บางประเทศยังกำหนดให้เสียงข้างน้อยในรัฐสภาสามารถนำประเด็นหรือร่างกฎหมาย
ที่รัฐบาลและเสียงข้างมากในรัฐสภาเห็นชอบแต่มีข้อสงสัยว่าอาจจะไม่สอดคล้องกับ
เจตนารมณ์ของประชาชนไปขอให้มีการออกเสียงประชามติได้ โดยอยู่ภายใต้หลักการ
ที่ว่า แม้ว่าพรรคฝ่ายค้านซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนแต่เป็นเสียงข้างน้อยในรัฐสภา
อาจจะไม่มีความชอบธรรมเพียงพอที่จะล้มล้างมติของพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งถือเป็น
เสียงข้างมากของรัฐสภาได้ แต่ก็ยังสามารถดำเนินการบางอย่างให้มีการคืนอำนาจ
ให้ประชาชนตัดสินใจได้ถ้าหากเห็นว่ารัฐสภาเสียงข้างมากและรัฐบาลอาจตัดสินใจ
ดำเนินการบางอย่างที่ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของประชาชน โดยประเทศที่มีการใช้กลไก
ในลักษณะนี้ ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก และประเทศสโลวิเนีย ดังนี้
= กรณีการออกเสียงประชามติในร่างกฎหมายของประเทศเดนมาร์กและ
ประเทศอัลเบเนีย : ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภาแบบสภาเดียว
กลไกลักษณะนี้มักจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญในประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา
และมีลักษณะเป็นสภาเดียวคือ มีสภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงสภาเดียว ได้แก่ ประเทศ
เดนมาร์ก ประเทศอัลเบเนีย ประเทศฮอนดูรัส ประเทศลักเซมเบิร์ก และประเทศ
มอนเตรเนโกร เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่มีวุฒิสภาคอยกลั่นกรองกฎหมายอีกชั้น
ทำให้พรรคการเมืองที่ถือเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร หรือก็คือพรรคร่วมรัฐบาล
มีอำนาจในการออกกฎหมายค่อนข้างมาก ด้วยเหตุนี้ เสียงส่วนน้อยในสภา (ซึ่งมัก
จะเป็นพรรคฝ่ายค้าน) จึงจำเป็นต้องมีอำนาจตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อป้องกันไม่ให้
เสียงข้างมากในสภาออกกฎหมายตามอำเภอใจ โดยในที่นี้ จะขอกล่าวถึงกรณี
การบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวในประเทศเดนมาร์กและอัลเบเนีย