Page 64 - kpiebook66024
P. 64

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้เนื่องจากฝ่ายบริหารจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วย
           ความไว้วางใจของรัฐสภา นอกจากนี้ ระบบรัฐสภาอังกฤษแต่เดิมก็ไม่ได้กำหนด
           เคร่งครัดเรื่องการห้ามดำรงตำแหน่ง กล่าวคือ ไม่ได้มีการกำหนดให้สมาชิกรัฐสภา

           จะต้องดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแต่เพียงอย่างเดียว จึงมักเกิดกรณีที่สมาชิกรัฐสภา
           ไปดำรงตำแหน่งในฝ่ายตุลาการได้ จนมีการกล่าวว่า ฝ่ายตุลาการเองก็มีส่วนในการใช้
                                47
           อำนาจนิติบัญญัติเช่นกัน

                   และเช่นเดียวกับการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในฝ่ายบริหารกับสมาชิกรัฐสภา
           ในฝ่ายนิติบัญญัติในคราวเดียวกัน กฎหมายอังกฤษก็ไม่ได้มีการบัญญัติห้ามการดำรง
           ตำแหน่งในลักษณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน และแม้ว่าต่อมาจะมีการบัญญัติ

           พระราชบัญญัติคุณสมบัติต้องห้ามของสภาผู้แทนราษฎร ค.ศ. 1975 (The House of
           Commons Disqualification Act 1975) ก็ได้กำหนดเฉพาะห้ามสมาชิก
           สภาผู้แทนราษฎรไปดำรงตำแหน่งในฝ่ายตุลาการเท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดห้ามสมาชิก

           สภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคราวเดียวกัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว ถ้าหากพิจารณา
           ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาของประเทศ
           อังกฤษแล้ว ก็จะมีการให้เหตุผลว่า การกำหนดดังกล่าวที่ให้รัฐมนตรีมาจากสมาชิก

           สภาผู้แทนราษฎรและยังคงสามารถเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ก็เท่ากับยิ่งทำให้
           ฝ่ายบริหารมีจุดยึดโยงกับประชาชนมากยิ่งขึ้นเพราะรัฐมนตรีเป็นสมาชิกรัฐสภา
           ที่มาจากการเลือกตั้ง จนมีการกล่าวว่า แทบจะพูดไม่ได้เลยว่าการแบ่งแยกการใช้

           อำนาจอย่างเด็ดขาดนั้นมีอยู่ในระบบการเมืองของประเทศอังกฤษ 48

                   อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภา
           ได้ในคราวเดียวกันนั้น อาจจะไม่มีปัญหาเมื่อมีการใช้ระบบการปกครองดังกล่าว

           ในวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศอังกฤษที่มีพรรคการเมืองใหญ่เพียง 2 พรรค
           เท่านั้น แต่เมื่อนำระบบรัฐสภารูปแบบดังกล่าวมาปรับใช้กับประเทศที่มีพรรคการเมือง
           หลายพรรค และยังมีผลการเลือกตั้งที่มักจะได้จัดตั้งรัฐบาลผสมบ่อยครั้ง ก็อาจทำให้

           เกิดปัญหาได้ในสองมิติ (เช่นเดียวกับกรณีของประเทศไทยที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในบทที่ 3)
           นั่นคือ




                 47  Roger Masterman, 2011, ibid, p. 18
                 48   A. Tomskin, 2003, Public Law, Oxford : Clarendon Press, p.38
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69