Page 62 - kpiebook66024
P. 62

0
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ดั้งเดิมเพื่อให้การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารโดยรัฐสภา
           มีประสิทธิภาพที่มากยิ่งขึ้นก็ตาม แต่การสร้างกลไกพิเศษในการควบคุมการบริหาร
           ราชการแผ่นดินนั้น จะต้องไม่เกินเลยไปถึงขนาดที่ว่าทำให้เกิดการตรวจสอบจนรัฐบาล

           ไม่สามารถดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินได้เลย หรือไม่เกินเลยไปถึงขนาดว่า
           เสียงข้างน้อยในรัฐสภาสามารถล้มรัฐบาลได้แม้ว่ารัฐบาลจะไม่ได้ดำเนินการจนมีปัญหา
           เรื่องความชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อีกทั้งต้องตระหนักเสมอว่า ในการปกครองด้วย

           ระบอบประชาธิปไตยนั้น เสียงของประชาชนหรือเจตนารมณ์ของประชาชนย่อมถือเป็น
           สิ่งสำคัญ และเสียงของประชาชนย่อมสะท้อนออกมาได้ด้วยการเลือกตั้ง และ
           เมื่อพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากจะเป็นพรรค

           ที่มีอำนาจสูงที่สุดในการจัดตั้งรัฐบาล นั่นก็เท่ากับว่า นโยบายของรัฐบาลที่มีการใช้
           หาเสียงเมื่อคราวเลือกตั้งนั้น ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนมากที่สุดว่า
           ต้องการมีการบริหารราชการแผ่นดิน หรือมีการจัดทำบริการสาธารณะไปในทิศทางใด

           ดังนั้น การสร้างกลไกตรวจสอบที่มากยิ่งขึ้น ก็จะต้องใช้ความระมัดระวังด้วยว่าจะต้อง
           ไม่เกินเลยไปถึงขนาดทำให้ประชาชนตั้งคำถามว่าเหตุใดกลไกของรัฐธรรมนูญจึงไม่ให้
           น้ำหนักต่อการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของประชาชน นอกจากนี้ แม้ว่าเสียงของ

           ประชาชนจะเป็นสิ่งสำคัญในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่การคุ้มครอง
           สิทธิเสรีภาพของประชาชนและการจำกัดการใช้อำนาจรัฐเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้
           อำนาจตามอำเภอใจซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ก็ถือ

           เป็นอีกหลักการหนึ่งที่สำคัญในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน ดังนั้น
           ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงตรงนี้ว่า ข้อจำกัดของการสร้างกลไกพิเศษเพื่อให้เสียงข้างน้อย
           ในรัฐสภาสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลได้นั้น มักจะมี
           การกำหนดจุดมุ่งหมายว่า “เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน”

           โดยอาจกำหนดให้กลไกเหล่านั้นถูกใช้ได้ต่อเมื่อเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ
           ของประชาชน


                 หรือกล่าวให้ถึงที่สุด ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนมักจะถูก
           กำหนดให้บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญ
           บัญญัติจึงกลายเป็นเรื่อง “ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” หรือที่เรียกว่า “ความชอบ

           ด้วยกฎหมาย” มากกว่าจะกลายเป็นเรื่องทางการเมือง ดังนั้น การกำหนดกลไกพิเศษนั้น
           บางกลไกจึงระบุอย่างชัดเจนว่า การตรวจสอบนี้เป็นการตรวจสอบ “ความชอบ
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67