Page 61 - kpiebook66024
P. 61
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ในการแต่งตั้งประมุขของฝ่ายบริหารหรือไม่ ถ้าหากไม่มี อำนาจในการขอเปิดอภิปราย
เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจก็จะอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว เป็นต้น) ซึ่งกลไก
เหล่านี้จะบัญญัติอยู่ในทุกประเทศที่ใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และจะมี
ลักษณะที่คล้ายกัน ต่างกันแต่เพียงการกำหนดกระบวนการและเงื่อนไข หรือถ้าหาก
เป็นกรณีการกำหนดเรื่องการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็มักจะเป็นการกำหนด
ความแตกต่างกันในเรื่องของจำนวนเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ขอเปิด
อภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ หรือเสียงที่ใช้ในการลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งกระบวนการ
ทั้งหมดนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นกระบวนการที่มีผู้ศึกษาไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ดังนั้น
จึงไม่ขอกล่าวถึงกรณีศึกษาต่างประเทศในส่วนของกระบวนการควบคุมการบริหาร
ราชการแผ่นดินด้วยการตั้งกระทู้ถาม หรือขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตอนต้นในเรื่องของที่มาและความสำคัญที่บ่งชี้
ถึงสภาพปัญหาของการนำระบบรัฐสภาแบบอังกฤษไปใช้ในหลายประเทศ นั่นคือ
การกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ก็เท่ากับว่า
เสียงข้างมากในรัฐสภาและฝ่ายบริหารเป็นพวกเดียวกัน และส่งผลให้เกิดคำถามต่อ
การตรวจสอบถ่วงดุลว่ารัฐสภาจะสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารในความเป็นจริง
ได้หรือไม่ ที่สำคัญ บางประเทศได้เกิดปัญหาดังกล่าวในลักษณะเกินเลยที่ทำให้เกิดผล
เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น กรณีของประเทศเยอรมนีที่เกิดการยึด
อำนาจในรัฐสภาและนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง หรือแม้แต่ประเทศไทยเอง
การตั้งคำถามที่หนักที่สุดต่อการควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาโดยรัฐบาล
จนไม่สามารถทำการตรวจสอบถ่วงดุลได้นั้น ก็เกิดขึ้นจากกรณีของการละเมิด
สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้มาตรการที่รุนแรง
ทั้งนี้ ในเมื่อหลายประเทศได้นำระบบรัฐสภาไปปรับใช้แล้วกลับเกิดปัญหา
ดังกล่าว กลุ่มประเทศเหล่านั้นบางประเทศจึงหาทางออกด้วยการสร้างกลไกการตรวจสอบ
ถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารขึ้นนอกเหนือจากการใช้การควบคุม
การบริหารราชการแผ่นดินแบบดั้งเดิม คือ การตั้งกระทู้ถาม หรือการอภิปราย
เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นกลไกนอกเหนือจากกลไกดั้งเดิมเหล่านั้น เป็นกลไก
ที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงเป็นกรณีศึกษาในบทนี้
อย่างก็ตาม ก่อนการเริ่มต้นศึกษากรณีศึกษาเหล่านี้ ผู้เขียนอยากเน้นย้ำให้พึง
ตระหนักไว้ว่า แม้ว่าหลายประเทศจะพยายามสร้างกลไกอย่างอื่นนอกเหนือจากกลไก