Page 65 - kpiebook66024
P. 65

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


                   หนึ่ง ในมิติของการบริหารราชการแผ่นดินภายในฝ่ายบริหารโดยการ
           กำหนดให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาได้ในคราวเดียวกันนั้น
           จะส่งผลให้รัฐมนตรี (ซึ่งอาจจะมาจากพรรคการเมืองคนละพรรคกับนายกรัฐมนตรี

           เนื่องจากเป็นการจัดตั้งรัฐบาลผสม) มีอำนาจต่อรองกับนายกรัฐมนตรีมากเกินไป
           เพราะหากรัฐมนตรีใช้อำนาจต่อรองกับนายกรัฐมนตรีในการดำเนินนโยบาย
           การบริหารราชการแผ่นดินมากเกินไปจนนายกรัฐมนตรีเลือกที่จะปรับคณะรัฐมนตรี

           บุคคลดังกล่าวก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะยังสามารถกลับไปดำรงตำแหน่ง
           สมาชิกรัฐสภาได้ และการมีอำนาจต่อรองในลักษณะนี้จะทำให้นายกรัฐมนตรีอ่อนแอ
           และอาจนำไปสู่ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาลได้


                   สอง ในมิติของการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการกำหนดให้
           รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาได้ในคราวเดียวกันทำให้ไม่สามารถ
           แยกอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารออกจากกันได้โดยเด็ดขาด เพราะบุคคล

           คนเดียวสามารถดำรงตำแหน่งได้ทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ทำให้เกิดการ
           ตั้งคำถามว่าจะสามารถตรวจสอบถ่วงดุลกันได้อย่างแท้จริงหรือไม่

                   ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าประเทศฝรั่งเศสซึ่งระบบรัฐสภาแบบประเทศอังกฤษมาปรับ

           ใช้จะต้องประสบปัญหาทางการเมืองเกี่ยวกับความมีเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างหนัก
           เนื่องจากผลการเลือกตั้งหลายครั้งทำให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสม จนนำไปสู่
           การสถาปนาระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีขึ้นในสมัยสาธารณรัฐที่ 5 (ค.ศ. 1958)

           แต่ลักษณะของระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีก็ยังมีลักษณะคล้ายระบบรัฐสภา
           ทั้งนี้ ก่อน ค.ศ. 1958 รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสก็กำหนดให้รัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร
           สามารถดำรงตำแหน่งในคราวเดียวกันได้ จึงทำให้รัฐมนตรีมีอำนาจต่อรองกับประมุข

           ของฝ่ายบริหารมากขึ้นจนรัฐบาลขาดเสถียรภาพ โดยในสมัยสาธารณรัฐที่ 3
           (ล่มสลายลงใน ค.ศ. 1940) ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ถึง 104 ชุด ในระยะ
           เวลา 70 ปี 49


                   ดังนั้น เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1958 ซึ่งทำให้ประเทศ
           ฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐที่ 5 นั้น จึงได้มีการบัญญัติห้ามนายกรัฐมนตรีและ
           รัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งสำคัญบางประการ โดยกำหนดให้


                 49  เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2543, เอกสารวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า ชุด รู้เขารู้เรา :
           ระบบการเมืองการปกครองฝรั่งเศส, กรุงเทพฯ : สยามศิลป์การพิมพ์ หน้า 41
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70