Page 67 - kpiebook66024
P. 67

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           เพื่อความมั่นคงของรัฐ และเป็นกรณีที่รัฐสามารถใช้อำนาจเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพ
           บางประการได้ก็ตาม แต่ Ackerman เองก็เห็นว่า หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้าย
           ในสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2001 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้หลายประเทศเริ่มมีการใช้อำนาจ

           ฝ่ายบริหารไปในทางที่ให้ความสำคัญกับความมั่นคง ซึ่งถ้าหากมองในมุมของ
           ความจำเป็นในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้อง
           มีการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจดังกล่าวของฝ่ายบริหาร และถ้าหากฝ่ายบริหาร

           ถือเสียงข้างมากในรัฐสภา (ซึ่งโดยธรรมชาติของระบบรัฐสภาก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว)
           ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างกลไกพิเศษบางอย่างขึ้น เพื่อตรวจสอบการใช้
           อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินของฝ่ายบริหารเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจที่อาจกระทบ

           ต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้

                   ด้วยเหตุนี้ Ackerman จึงได้เสนอการใช้เสียงข้างมากแบบขั้นบันได
           (Supermajoritarian Escalator) ซึ่งในเบื้องต้น กำหนดให้ในกรณีที่การประกาศ

           สถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลสามารถกระทำได้เลยเนื่องจากเป็นกรณีเร่งด่วน แต่จะ
           ต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงเงื่อนเวลาว่าการใช้อำนาจของรัฐบาลจะสิ้นสุดลงโดย
           อัตโนมัติเมื่อครบระยะเวลาเท่าใด และถ้าหากจำเป็นจะต้องต่ออายุการประกาศ

           สถานการณ์ฉุกเฉิน ก็จำเป็นที่จะต้องไปขอความเห็นชอบจากรัฐสภา และการต่ออายุ
           แต่ละครั้งก็จำเป็นจะต้องใช้เสียงของสมาชิกรัฐสภามากขึ้นเรื่อย ๆ โดย Ackerman
           ได้ยกตัวอย่างว่า ในการขอต่ออายุครั้งแรก ให้ต้องใช้เสียงร้อยละ 60 ของจำนวน

           สมาชิกรัฐสภาทั้งหมด การต่ออายุครั้งที่ 2 จะต้องใช้เสียงร้อยละ 70 และการต่ออายุ
           ครั้งต่อ ๆ ไป ก็ต้องใช้เสียงร้อยละ 80 เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุล
           ในมุมที่ป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารที่ถือเสียงข้างมากในรัฐสภาใช้อำนาจตามอำเภอใจ

           จนส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน 53

                   ทั้งนี้ แม้ว่ารูปแบบดังกล่าวจะพบได้ยากในต่างประเทศและสามารถสรุปผล
           การบังคับใช้ได้ยาก แต่แนวความคิดในการสร้างระบบ “เสียงข้างมากพิเศษ” เพื่อให้

           เสียงข้างน้อยมีความสำคัญในการตัดสินใจในบางเรื่องที่มีความสำคัญนั้น ก็เป็น
           สิ่งที่พบเห็นได้อย่างทั่วไป โดยอย่างน้อยที่สุด หลายประเทศจะกำหนดให้การให้
           ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา




                 53  Ibid
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72