Page 71 - kpiebook66024
P. 71

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ หรือร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองทางเศรษฐกิจ
           สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือร่างกฎหมายที่จะมีผลเป็นการอนุมัติให้มีการให้สัตยาบัน
           แก่สนธิสัญญา ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจหน้าที่ของสถาบัน (ทางการเมือง) โดยไม่ขัดต่อ

           รัฐธรรมนูญ และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็กำหนดให้สมาชิกรัฐสภา
           ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า สามารถขอให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวได้
           แต่ต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบลงชื่อรับรอง และมีข้อจำกัดเพิ่มเติมว่า

           ร่างกฎหมายในประเด็นดังกล่าวนั้น จะต้องไม่มีผลเป็นการยกเลิกกฎหมายซึ่งบังคับใช้
           มายังไม่ถึง 1 ปี และถ้าหากประชาชนให้ความเห็นชอบแล้ว ก็ต้องประกาศใช้กฎหมาย
           นั้น 61


                   อย่างไรก็ตาม การกำหนดกติกาดังกล่าวไม่ได้เกิดจากความต้องการให้
           อำนาจแก่ผู้แทนเสียงส่วนน้อยในรัฐสภา หากแต่เกิดจากแนวความคิดที่ว่าต้องการให้
           ประชาชนสามารถเข้าชื่อขอให้มีการลงประชามติได้โดยตรงในกรณีที่เกี่ยวข้องกับ

           ร่างกฎหมายดังกล่าว แต่เกรงว่าถ้าหากปล่อยให้ประชาชนเข้าชื่อกันขอให้มีการลง
           ประชามติโดยตรงแล้ว อาจเกิดการขอให้ลงประชามติที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิของ
           คนส่วนน้อยจนเกิดการพิพาทกัน และแม้จะสามารถสร้างกลไกให้องค์กรตุลาการ

           สามารถวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประเด็นที่นำมาลงประชามติได้ก็ตาม
           แต่ก็อาจสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ดีได้ จึงสร้างกลไกให้เสียงส่วนน้อย
           ในสภาต้องร่วมริเริ่มกับประชาชนที่เข้าชื่อด้วย เพื่อเป็นการกรองก่อนอีกชั้นหนึ่ง
                                                                                   62
           ซึ่งการกำหนดกลไกให้ประชาชนร่วมลงชื่อรับรองด้วยนี้ ผู้เขียนเห็นว่าอาจเป็น
           การป้องกันไม่ให้เสียงส่วนน้อยใช้กลไกดังกล่าวโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของพรรคตน
           แต่เพียงอย่างเดียวจนประสบปัญหาเหมือนอย่างกรณีประเทศสโลวิเนีย


                   กลไกการให้เสียงข้างน้อยของรัฐสภาสามารถขอให้มีการออกเสียงประชามติ
           ในประเด็นที่เสียงข้างน้อยในรัฐสภาอาจมองว่าการตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาล
           เสียงข้างมากอาจจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชน และในเมื่อเป็นการ

           คืนอำนาจการตัดสินใจให้ประชาชนแล้วนั้น ก็อาจจะเป็นการตัดสินใจได้ทั้งเรื่องที่เป็น
           ประเด็นทางการเมือง เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาล แม้ว่า


                  61  รัฐธรรมนูญประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 2008 มาตรา 11
                 62  Jean Pierre Camby, Patrick Fraisseix and Jean Gicquel. (2008). La révision de 2008,
           une nouvelle constitution ? Paris : LGDJ, p.2009
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76