Page 72 - kpiebook66024
P. 72

0
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ร่างกฎหมายนั้นจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ก็ยังมีอีกกลไกหนึ่งที่ถือว่าเป็นกลไก
           ช่วยถ่วงดุลอำนาจของเสียงข้างมากของพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐสภานั่นคือ การกำหนด
           ให้มีศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองเสียงข้างน้อยในรัฐสภา และปกป้องสิทธิ

                              63
           เสรีภาพของประชาชน  โดยรัฐธรรมนูญหลายประเทศที่กำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญ
           และมักกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างน้อยนำคดีขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้
           ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ แต่โดยหลักแล้ว การตรวจสอบ

           ถ่วงดุลโดยใช้องค์กรตุลาการนั้น มักจะเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีข้อจำกัดคือ
           ตรวจสอบได้เฉพาะความชอบด้วยกฎหมายหรือความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเท่านั้น
           กล่าวคือ ฝ่ายตุลาการไม่อาจเข้าไปตรวจสอบได้ว่าการดำเนินนโยบายของฝ่ายบริหาร

           นั้นดีหรือไม่ดี หรือมีข้อห่วงกังวลอย่างไรซึ่งถือว่าเป็นเรื่องการกระทำทางรัฐบาล
                                                                 64
           (Act of Government) ที่จะต้องถูกตรวจสอบโดยฝ่ายการเมือง
                   จากการกล่าวถึงกรณีศึกษาทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เคย

           ปรากฏเป็นการปฏิบัติจริงซึ่งได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ หรือกรณีของข้อเสนอของ
           นักวิชาการต่างประเทศ สามารถสรุปได้ ดังนี้

                   1) แม้ว่าจะกำหนดกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลที่เพิ่มมากขึ้นจากกระบวนการ

           ดั้งเดิมอย่างการตั้งกระทู้ถามหรือการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจก็ตาม การกำหนด
           กลไกพิเศษเหล่านี้จะไม่เกินเลยไปจนถึงขนาดทำให้เสียงข้างน้อยในรัฐสภาสามารถ
           ล้มล้างมติเสียงข้างมากในรัฐสภาซึ่งมักจะเกี่ยวพันกับนโยบายของรัฐบางที่เคยสัญญา

           ไว้กับประชาชนในตอนหาเสียงได้ และการเลือกใช้กลไกพิเศษในการตรวจสอบถ่วงดุล
           โดยเฉพาะกรณีการใช้มติพิเศษนั้น ก็มักจะเป็นกรณีที่ทำเพื่อป้องกันการละเมิด
           สิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญของประชาธิปไตย


                   2) การกำหนดให้ใช้องค์กรอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบถ่วงดุลนั้น
           สามารถแบ่งได้เป็น






                 63  บรรเจิด สิงคเนติ, 2559, ทิศทางรัฐสภาไทย : ศักราชใหม่ในการปฏิรูปประเทศ, จุลนิติ
           ม.ค.- ก.พ. 2559, หน้า 13
                 64  รวินท์ ลีละพัฒนะ และชมพูนุท ตั้งถาวร, 2564, มุมมองใหม่ต่อการกระทำทางรัฐบาลใน
           ประเทศไทย : ศึกษาผ่านประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77