Page 77 - kpiebook66024
P. 77

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


                 นอกจากนี้ หลายประเทศก็ได้เกิดการสร้างกลไกพิเศษเพื่อให้เกิดการตรวจสอบ
           ฝ่ายบริหาร แต่การสร้างกลไกในต่างประเทศนั้นมีข้อน่าสังเกตที่สำคัญ คือ


                 1. ไม่มีประเทศใดสร้างกลไกในลักษณะไปถึงที่ทำให้ฝ่ายบริหารต้องถูก
           ตรวจสอบจนไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างปกติ และไม่มีประเทศใด
           ที่สร้างกลไกให้ตัวของพรรคฝ่ายค้านโดยตัวเองซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในรัฐสภาสามารถ
           ล้มนโยบายฝ่ายบริหารหรือทำให้ฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้เนื่องจากถือเป็น

           การผิดธรรมชาติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องเคารพเสียงของ
           ประชาชนที่เลือกตั้งมา

                 2. การสร้างกลไกพิเศษของต่างประเทศจะมีลักษณะจำกัดการตรวจสอบอยู่ที่

           กิจการที่อาจไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ เช่น การควบคุมความชอบ
           ด้วยรัฐธรรมนูญ หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

                 อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพิจารณากลไกที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

           ของประเทศไทยแล้ว จะเห็นได้ว่าได้มีการกำหนดกลไกหลายประการเพื่อควบคุม
           ความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายบริหารอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกลไก

           ในองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบกรณีที่ฝ่ายการเมืองอาจดำเนินการด้วยความทุจริต หรือ
           ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีความชอบธรรมในการควบคุมการกระทำ
           ทางรัฐบาลที่มีลักษณะเป็นการกระทำทางการเมืองและจำเป็นต้องอาศัยการตรวจสอบ
           โดยฝ่ายการเมือง


           5.2
ข้อเสนอแนะ



                 จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ผู้เขียนมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ
           การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลของฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

           ในระบบรัฐสภาในประเทศไทย ดังนี้

                 1) ประเด็นเกี่ยวกับการให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งสมาชิก
           สภาผู้แทนราษฎรในเวลาเดียวกันได้


                   ผู้เขียนเห็นด้วยกับนักวิชาการหลายท่านที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า ควรจะ
           กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีจะต้องพ้นจากตำแหน่ง
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82