Page 78 - kpiebook66024
P. 78

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก
           การให้คนหนึ่งคนดำรงตำแหน่งได้สองตำแหน่งในคราวเดียวกัน และยังเป็นตำแหน่ง
           ที่จะต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้เกิดคำถามว่าจะ

           สามารถตรวจสอบถ่วงดุลในความเป็นจริงได้หรือไม่


                   ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
           มาตรา 101 โดยเพิ่มเป็นมาตรา 101 (7/1) ให้มีข้อความว่า “ได้รับแต่งตั้งเป็น

           นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี” ซึ่งเป็นข้อความเดียวกับที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
           แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118 (7)


                 2) ประเด็นเกี่ยวกับอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมาธิการ


                   อำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ถือว่า
           เป็นกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีความสำคัญเพราะทำให้ผู้ที่ถูกเรียกจะต้องเปิดเผย

           ข้อเท็จจริงที่เป็นที่สงสัยให้ประชาชนรับทราบ แต่ในเมื่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
           ที่ 17/2563 มีผลให้อำนาจในการออกคำสั่งเรียก และการกำหนดโทษทางอาญาของ
           ผู้ที่ฝ่าฝืนนั้นต้องถูกยกเลิกไป ก็เท่ากับว่าทำให้คณะกรรมาธิการนั้นไม่มีอำนาจ

           ดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
           เพื่อให้คณะกรรมาธิการสามารถมีอำนาจในการตรวจสอบและมีอำนาจในการออก
           คำสั่งเรียกเพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริงดังเดิม



                   ในส่วนนี้ ผู้เขียนจึงขอเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
           มาตรา 129 วรรคสี่ โดยเพิ่มข้อความว่า “...และให้คำสั่งเรียกดังกล่าวมีผลบังคับ
           ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งเป็นข้อความเดียวกับที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่ง

           ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 135 วรรคสอง และจะทำให้
           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 129 วรรคสี่ มีข้อความว่า


                   “คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือ

           เรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่อง
           ที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ และให้คำสั่งเรียกดังกล่าว
           มีผลบังคับตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษา
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83