Page 80 - kpiebook66024
P. 80

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


                   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้เขียนจะเห็นด้วยกับการนำกลไกดังกล่าวมาปรับใช้ใน
           ประเทศไทย แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญของประเทศไทยที่ผ่านมา มักจะกำหนดให้
           ประเทศไทยใช้รูปแบบรัฐสภาเป็นแบบสภาคู่ คือ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

           ถ้าหากรัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ ไปจะยังคงรูปแบบของรัฐสภาเป็นแบบสภาคู่อยู่ การให้
           สมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนน้อยขอให้มีการลงประชามติได้ก็คงต้องสร้างข้อจำกัดทั้งใน
           ด้านกติกาการริเริ่มให้มีการลงประชามติ และประเด็นที่จะขอประชามติ กล่าวคือ

           ในส่วนของการริเริ่มให้มีการลงประชามตินั้น เพื่อให้ประเด็นที่สมาชิกรัฐสภา
           เสียงส่วนน้อยจะขอลงประชามติเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อประชาชนอย่างแท้จริง
           ก็ควรกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องลงชื่อรับรองด้วยเพื่อป้องกันการนำกลไก

           ดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ของพรรคแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนด้านประเด็นการขอให้มี
           การลงประชามตินั้น ผู้เขียนเห็นว่า การกำหนดให้ผู้แทนเสียงส่วนน้อยขอให้มีการลง
           ประชามติควรจะเป็นกรณีที่มีการขอยกเลิกกฎหมาย หรือการให้ความเห็นชอบแก่

           ร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในรัฐสภาแล้ว แต่เป็นที่สงสัยว่า
           อาจขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน โดยต้องสร้างข้อจำกัดที่ชัดเจน เช่น กฎหมาย
           หรือร่างกฎหมายใดที่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะจริง ๆ ก็อาจต้องกำหนด

           ห้ามไม่ให้ขอให้มีการลงประชามติแบบมีผลผูกพัน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน
           กฎหมายเรื่องการเวนคืน (แต่อาจขอประชามติแบบไม่มีผลผูกพัน (ประชาพิจารณ์) ได้
           หรืออาจใช้กลไกอื่นในการตรวจสอบแทน) เป็นต้น



                   ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่ง
           ราชอาณาจักรไทย มาตรา 166 สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างน้อย โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
           รับรอง โดยให้เป็นจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิก

           รัฐสภา ไม่น้อยกว่า 1/10 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
           หรือสมาชิกรัฐสภา ทั้งหมดที่มีอยู่แล้วแต่กรณี และให้จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่รับรอง
           ต้องไม่น้อยกว่า 10,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับที่กำหนดให้สามารถเข้าชื่อเสนอ

           ร่างกฎหมายได้ สามารถขอให้มีการออกเสียงประชามติได้ และจะทำให้มาตรา 166
           มีข้อความว่า


                   “ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

           สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกรัฐสภา ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกสภา
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85