Page 79 - kpiebook66024
P. 79

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           หรือตุลาการที่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษา
           อรรถคดี หรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรง
           ตำแหน่งในองค์กรอิสระในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจโดยตรง

           ในแต่ละองค์กรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบ
           รัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี”


                 3) ประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดเรื่องการให้สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างน้อย

           สามารถขอให้มีการออกเสียงประชามติได้

                   แม้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 ได้กำหนด

           ให้รัฐสภาสามารถขอให้มีการออกเสียงประชามติได้ถ้าหากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุ
           สมควรให้ออกเสียงประชามติได้ และประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
           เพื่อให้มีการออกเสียงประชามติได้ก็ตาม แต่ก็ไม่มีการออกกฎเกณฑ์รายละเอียดใดที่
           แสดงให้เห็นว่าการใช้กลไกดังกล่าวนั้น เสียงข้างน้อยก็สามารถใช้ได้ อย่างไรก็ตาม

           แม้ว่าเคยมีงานเขียนของนายทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ และนางสาวทิพย์ศริน
           ภัคธนกุล เคยกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “Empowering Direct Democracy through a

           Referendum to Counter-Balance : the Majority in the House of
           Representatives of Thailand” โดยเสนอให้ผู้แทนเสียงส่วนน้อยสามารถขอให้มี
           การลงประชามติได้ โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ สามารถ
           ขอให้มีการลงประชามติได้ โดยมีข้อจำกัดคือ ห้ามเกิน 2 ประเด็นในหนึ่งสมัยของ

           รัฐสภา  ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยกับหลักการที่ได้มีการเสนอ แต่ผู้เขียนยังตั้งข้อสังเกต
                  65
           ในเรื่องความเหมาะสมของข้อจำกัดที่กำหนดเป็นจำนวนครั้งในหนึ่งสมัยรัฐสภา
           เนื่องจาก ถ้าหากในสภาสมัยนั้นออกกฎหมายที่กระทบต่อประชาชนในเรื่องสำคัญ

           ค่อนข้างมาก หรือดำเนินการอะไรที่เป็นที่น่าสงสัยว่าจะขัดต่อเจตนารมณ์ของ
           ประชาชนค่อนข้างมากแล้ว การจำกัดจำนวนครั้งก็อาจทำให้ไม่ตรงกับจุดประสงค์เดิม
           ของการสร้างกลไกดังกล่าว คือ ต้องการให้มีการลงประชามติเพื่อปกป้องผลประโยชน์

           ของประชาชน


                 65  Thosaphon Chieocharnpraphan and Thipsarin Phaktanakul. Empowering Direct
           Democracy through a Referendum to Counter-Balance the Majority in the House of
           Representatives of Thailand. Retrieved September 1, 2014, from http://www.thaiworld.org/enn/
           thailand_monitor/answera.php?question_id=1332.
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84