Page 66 - kpiebook66024
P. 66
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
“...ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลไม่อาจดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภา
ตำแหน่งวิชาชีพในระดับชาติ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าตำแหน่งใด และไม่อาจ
ประกอบวิชาชีพใด ๆ ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้” 50
ทั้งนี้ การบัญญัติดังกล่าวก็เพื่อให้อำนาจต่อรองของรัฐมนตรีต่อนายกรัฐมนตรี
มีน้อยลงซึ่งจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลมีความเป็นเอกภาพ
มากยิ่งขึ้น และยังทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารได้แยกออกจากกันอย่าง
เด็ดขาด ซึ่งส่งผลให้การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างสององค์กรมีความชัดเจน อีกทั้ง
ยังทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญและทำงานในฐานะรัฐมนตรีได้อย่าง
เต็มที่ ไม่ต้องแบ่งเวลาไปทำงานในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
51
2) ข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดเสียงข้างมากพิเศษในลักษณะที่เป็นเสียงข้างมาก
พิเศษแบบขั้นบันได (Supermajoritarian Escalator)
การรับเอาระบบรัฐสภาแบบประเทศอังกฤษมาปรับใช้ในหลายประเทศ
ในภาคพื้นทวีปยุโรปนั้น มักจะประสบกับปัญหาเกี่ยวกับกรณีที่รัฐบาลและรัฐสภา
เสียงข้างมากมาจากพรรคการเมืองเดียวกันและรัฐบาลได้ใช้อำนาจรัฐจนเกินเลยไปถึง
เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ซึ่งบางกรณีก็อาจเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีระยะเวลายาวนาน และ
มีการบังคับใช้มาตรการที่ไม่เหมาะสม และด้วยเหตุที่สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมากและ
รัฐบาลมาจากพรรคการเมืองเดียวกันหรือพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรกัน จึงส่งผล
ให้ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในกรณีดังกล่าวได้ 52
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาในลักษณะดังกล่าวนี้ Bruce Ackerman ได้ชี้
ให้เห็นว่า การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น
ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ แม้ว่าการใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินจะถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น
50 นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2549, คำแปลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ. 1958,
กรุงเทพ ฯ : วิญญูชน หน้า 42
51 นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2554, การปรับโครงสร้างของระบบรัฐสภา, กรุงเทพ ฯ : สถาบัน
พระปกเกล้า หน้า 282
52 Bruce Ackerman, 2004, The Emergency Constitution, The Yale Law Journal vol.
113: 1029, pp. 1047