Page 63 - kpiebook66024
P. 63

1
 การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ด้วยรัฐธรรมนูญ” หรือ “ความชอบด้วยกฎหมาย” ไม่ใช่การตรวจสอบทางการเมือง
           หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตรวจสอบดังกล่าว (โดยมักจะให้สมาชิกรัฐสภา
           เสียงข้างน้อยสามารถนำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่กลไกนี้ได้) จะเป็นการตรวจสอบว่า

           รัฐบาลทำ “ผิด” หรือ “ถูก” กฎหมาย มากกว่าจะเป็นการตรวจสอบว่านโยบายของ
           รัฐบาลนั้น “ดี” หรือ “ไม่ดี” ซึ่งเป็นการตรวจสอบทางการเมือง

                 ในส่วนของการกล่าวถึงกลไกพิเศษในการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร

           โดยรัฐสภานี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง (1) การปรับกลไกในการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
           โดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นกลไกในรัฐสภา และ (2) การใช้กลไกโดยองค์กรอื่นที่ไม่ใช่
           รัฐสภา โดยมักจะเป็นกรณีที่มีการกำหนดให้เสียงข้างน้อยในรัฐสภาสามารถ

           นำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาขององค์กรนั้นได้


           4.1
การปรับกลไกในการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
           
     โดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นกลไกในรัฐสภา



                 นอกเหนือจากการกำหนดให้รัฐสภาสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
           ของฝ่ายบริหารได้ โดยการตั้งกระทู้ถามและการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจก็ตาม
           แต่หลายประเทศก็มีการกำหนดกลไกบางอย่างหรือเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่ง

           บางประการเพื่อให้การตรวจสอบถ่วงดุลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้แก่
           (1.1) การกำหนดให้รัฐมนตรีห้ามดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาคราวเดียวกัน
           ซึ่งแตกต่างจากกรณีของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นต้นตำรับของระบบรัฐสภา และ
           (1.2) ข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดเสียงข้างมากพิเศษในลักษณะที่เป็นเสียงข้างมาก

           พิเศษแบบขั้นบันได (Supermajoritarian Escalator) ซึ่งใช้กับการตัดสินใจประเด็น
           พิเศษในบางกรณี

                 1) การกำหนดให้รัฐมนตรีห้ามดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาในคราวเดียวกัน


                   ในระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ (Westminster model) เป็นระบบที่ถือ
           หลักว่า รัฐสภาเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชนเนื่องจาก

           มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ในระบบดังกล่าวนี้ ได้กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
           ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เลือกประมุขของฝ่ายบริหาร ซึ่งทำให้
           ฝ่ายบริหารมีจุดยึดโยงกับตัวแทนของประชาชน และกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68