Page 56 - kpiebook66024
P. 56
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้บัญญัติถึง
อำนาจในการออกคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการในลักษณะที่แตกต่างจากการบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันเป็นบทบัญญัติแม่บท
ที่มาของพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและ
วุฒิสภา พ.ศ. 2554 แล้ว จึงได้มีการนำประเด็นเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ของบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการและกำหนดโทษดังกล่าวขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2563
ซึ่งวินิจฉัยว่าบทบัญญัติมาตรา 5 มาตรา 8 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติคำสั่ง
เรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554
ขัดรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า การที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติ
ประเด็นเกี่ยวกับอำนาจสอบสวนของคณะกรรมาธิการแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น ก็แสดงว่าต้องการให้มีเจตนารมณ์
เปลี่ยนหลักการการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ โดยแก้ไขคำว่า “การสอบสวน”
เป็น “การสอบหาข้อเท็จจริง” และยังมีการตัดคำว่า “...และให้คำสั่งเรียกดังกล่าว
มีผลบังคับตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออกไป อีกทั้งยังมีการใช้คำว่าให้มีอำนาจ
“เรียก” แทนคำว่า “ออกคำสั่งเรียก” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า “...โดยอำนาจ
เรียกเป็นการเชิญหรือการขอความร่วมมือจากบุคคล....ส่วนการออกคำสั่งเรียก...
เป็นการออกคำสั่งที่ประสงค์ให้มีผลบังคับทางกฎหมาย...” ดังนั้น การกำหนดโทษ
แก่ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ จึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญ
44
อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวนี้ พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ได้ให้
ความเห็นว่าแม้ในช่วงที่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 และยังมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของ
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ก็ตาม ทั้งที่การออกคำสั่งเรียกจะแลดูเป็น
สิ่งที่มีผลทางกฎหมายและมีความเข้มข้น และเมื่อมีการออกคำสั่งเรียก ผู้ที่ถูกเรียก
ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายก็ตาม แต่คณะกรรมาธิการเองก็ไม่เข้าใจลักษณะ
44 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2563