Page 52 - kpiebook66024
P. 52

0
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           7 คน แม้ว่าสุดท้ายผลการลงมติไม่ไว้วางใจ คือ รัฐมนตรีทั้งหมดได้รับความไว้วางใจ
           และไม่มีการยุบสภา แต่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                                               41
           ในขณะนั้นได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง  โดยส่วนหนึ่งของเหตุผลในการลาออกนั้น
           เนื่องจากนายนพดล ปัทมะ ได้คะแนนความไว้วางใจน้อยกว่ารัฐมนตรีคนอื่น ๆ

                       นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่รัฐบาลนำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ
           รัฐมนตรีอีก 5 คน ถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจใน พ.ศ. 2553 และแม้ว่าสุดท้าย

           นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐมนตรีคนอื่นจะได้รับการลงมติไว้วางใจ แต่ก็มีการปรับ
           คณะรัฐมนตรีโดยนำรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อแผ่นดินออก เนื่องจากสมาชิก
           สภาผู้แทนราษฎรของพรรคดังกล่าวได้ลงคะแนนไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย

           ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลโดยมีเหตุผลสำคัญคือรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล 42

                       ดังนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม้ว่ากลไกการเปิดอภิปราย

           ไม่ไว้วางใจในประเทศไทยจะไม่เคยทำให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งโดยตรง
           ได้มาก่อน แต่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ส่งผลกระทบต่อการเมืองโดยเฉพาะ
           อย่างยิ่งฝ่ายบริหาร โดยอาจทำให้เกิดการปรับคณะรัฐมนตรี หรืออาจนำไปสู่การยุบ
           สภาเนื่องจากถูกกดดันจากรัฐสภาและประชาชน


           
     
3.2.4
 การกำหนดประเด็นเกี่ยวกับการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
           โดยคณะกรรมาธิการ
:
อำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมาธิการ


                       ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ในระบบรัฐสภานั้น นอกจาก
           ฝ่ายนิติบัญญัติจะมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาและการตรากฎหมายแล้ว อีกหนึ่ง
           ในอำนาจและหน้าที่สำคัญของรัฐสภาก็คือการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของ

           ฝ่ายบริหาร (Control of Administration) ซึ่งได้แก่การมีส่วนในการเลือกผู้ดำรง
           ตำแหน่งทางการเมืองที่จะทำหน้าที่ในฝ่ายบริหาร และตรวจสอบการทำงานของ

           ฝ่ายบริหาร และเพื่อให้การทำหน้าที่ดังกล่าวของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นไปได้ด้วยดี
           จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจสอบสวนโดยจำกัดการสอบสวน


                  41  ประชาไท. นพดล ปัทมะ : คำต่อคำกรณีปราสาทพระวิหารและการลาออก. สืบค้นเมื่อวันที่
           3 ตุลาคม 2564 จาก https://prachatai.com/journal/2008/07/17330
                 42  ประชาไท. ผลลงมติ “ชวรัตน์-โสภณ” รมต. จากภูมิใจไทย เจอ ส.ส. พรรคร่วมโหวตสวน
           ไม่ไว้วางใจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 จาก https://prachatai.com/journal/2010/06/29860
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57