Page 53 - kpiebook66024
P. 53
1
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
อยู่ที่การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น และในเมื่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา
มักจะอยู่ในรูปแบบของ “คณะกรรมาธิการ” ดังจะเห็นได้จากการตั้งคณะกรรมาธิการ
ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญทั้งในสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภา โดยคณะกรรมาธิการในสภานี้จะทำหน้าที่แบ่งเบาภารกิจของรัฐสภาใหญ่
และเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมาธิการเป็นไปได้ด้วยดี จึงได้เกิดการสร้างเครื่องมือ
สำคัญทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมาธิการ นั่นคือ การถ่ายโอน
อำนาจในการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่าที่จำเป็นต่อการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติมาให้แก่
คณะกรรมาธิการด้วย โดยจะอยู่ในรูปแบบอำนาจของการออกคำสั่งเรียกตัวบุคคล
เอกสาร หรือพยานหลักฐาน 43
ทั้งนี้ การบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริง
ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาปรากฏอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 โดยมาตรา 135 ได้บัญญัติถึงการตั้งคณะกรรมาธิการในรัฐสภาทั้ง
คณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ และกำหนดอำนาจในการออกคำสั่ง
เรียกเอกสารหรือบุคคลมาให้ข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็น ดังนี้
“สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภา
ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็น
สมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน
หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา
มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำ
หรือซ้อนกัน
คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจาก
บุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการ
ที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ และให้คำสั่งเรียก
ดังกล่าวมีผลบังคับตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่คำสั่งเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับกับ
ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษา
43 พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, 2565, ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหา
ข้อเท็จจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : ศึกษาเปรียบเทียบการทำ
หน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา หน้า 34