Page 54 - kpiebook66024
P. 54

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           อรรถคดีหรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับกับผู้ตรวจการ
           แผ่นดินหรือกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่
           โดยตรงในแต่ละองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตาม

           พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี

                       ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง
           ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

           ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงาน
           ที่บุคคลนั้นสังกัดทราบและมีคำสั่งให้บุคคลนั้นดำเนินการตามวรรคสอง เว้นแต่เป็น
           กรณีที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน ให้ถือว่าเป็นเหตุ

           ยกเว้นการปฏิบัติตามวรรคสอง”


                       และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของคณะกรรมาธิการมีความชัดเจน
           มากยิ่งขึ้นทั้งในเรื่องของอำนาจและแนวทางในการดำเนินการ จึงได้มีการตรา

           พระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
           พ.ศ. 2554 ซึ่งกำหนดอำนาจของคณะกรรมาธิการในการออกคำสั่งเรียก และกำหนด

           ให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งเรียกนั้นจะต้องมาตามคำสั่งเรียก โดยการออกคำสั่งดังกล่าวของ
           คณะกรรมาธิการนั้น จะต้องมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมาธิการเท่าที่
           มีอยู่ ดังที่บัญญัติในมาตรา 8 ดังนี้


                       “บุคคลที่ได้รับหนังสือขอให้ส่งเอกสาร หรือเชิญมาแถลงข้อเท็จจริง

           หรือแสดงความเห็นไม่จัดส่งเอกสาร หรือไม่มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น
           ให้คณะกรรมาธิการออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลนั้นหรือเรียกบุคคลนั้น

           มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นด้วยตนเองต่อคณะกรรมาธิการ โดยอาจ
           ขอให้บุคคลนั้นนำเอกสาร หรือวัตถุที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้

                       ในการออกคำสั่งเรียกตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมาธิการต้องมีมติ
           ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

                       คำสั่งเรียกตามวรรคหนึ่งต้องระบุเหตุแห่งการเรียก ประเด็น
           ข้อซักถามที่เกี่ยวข้องตามสมควรและโทษของการฝ่าฝืนคำสั่งเรียก”
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59