Page 49 - kpiebook66024
P. 49

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ในพื้นที่ต่อรัฐมนตรีที่รับผิดชอบการบริหารเรื่องนั้น ๆ ได้โดยตรง และรัฐมนตรี
           ที่รับผิดชอบก็จะเตรียมตัวมาตอบ โดยการตอบกระทู้ถามในลักษณะนี้อาจจะไม่ได้มี
           การถ่ายทอดสดเนื่องจากเป็นการตอบกระทู้ถามในขณะที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

           แต่หลังจากมีการตอบกระทู้แล้ว ประธานสภาผู้แทนราษฎรก็มักจะกำหนดให้
           เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนำเทปบันทึกการตอบกระทู้ดังกล่าวมาเผยนแพร่
           เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร 39

                        -  ข้อสังเกตจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ : รัฐธรรมนูญแห่ง

                         ราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ จะมีการกำหนดกลไกให้สมาชิก
                         สภาผู้แทนราษฎรสามารถขอเปิดการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
                         นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลได้ โดยอาจมีการกำหนด

                         รายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างจำนวนสมาชิก
                         สภาผู้แทนราษฎร ที่จะขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี
                         หรือนายกรัฐมนตรี

                        -  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 กำหนดให้

                         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
                         คณะรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้งคณะก็ได้ แต่จะต้องมีสมาชิกรับรอง
                         ไม่น้อยกว่า 24 คน

                        -  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 กำหนดให้

                         ต้องใช้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสามของจำนวน
                         สมาชิกทั้งหมดเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลหรือ
                         ทั้งคณะ

                        -  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 กำหนดให้ต้อง

                         มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิก
                         ทั้งหมดขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
                         หรือทั้งคณะ เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                         พุทธศักราช 2521 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                         พุทธศักราช 2534



                 39   หน้า 230
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54