Page 45 - kpiebook66024
P. 45
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายต่างก็มุ่งหวังว่าตนเองจะสามารถรวบรวมคะแนนเสียงได้
จำนวนหนึ่งเพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามโควตา การห้ามมิให้ฝ่ายนิติบัญญัติ
ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารในขณะเดียวกันจะทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตระหนัก
ว่าเมื่อใดก็แล้วแต่ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะต้องพ้นจากการเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร และหากมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีก็จะกลับมาเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรไม่ได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่” 33
การให้เหตุผลเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกันไม่ได้นั้น เมื่อพิจารณาจากบริบทของ
ต่างประเทศประกอบกับเหตุผลของสมคิด เลิศไพฑูรย์ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
จะเห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลที่สำคัญสองประการ คือ
หนึ่ง ถ้าหากมองในมุมของการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่าง
ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารแล้ว จะเห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวจะทำให้
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้นเป็นไปได้อย่างชัดเจน
ยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏในเหตุผลข้อแรก เพราะถ้าหากปล่อยให้รัฐมนตรียังคงดำรงตำแหน่ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เกิดการตั้งคำถามต่อ
การตรวจสอบถ่วงดุล
สอง ถ้าหากมองในมุมของการทำงานในฝ่ายบริหารแล้ว การกำหนด
กลไกดังกล่าวนี้มีบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสเช่นกัน เนื่องจากในช่วง
สมัยสาธารณรัฐที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศส การเมืองการปกครองมักจะมีลักษณะเป็น
รัฐบาลผสมซึ่งเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดำรง
ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในคราวเดียวกันได้ ทำให้ในหลายกรณี รัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยนั้น อาจมีที่มาจากพรรคการเมืองต่างจากพรรคของ
ประมุขฝ่ายบริหารเอง และในกรณีที่รัฐมนตรีนั้นเห็นต่างจากประมุขของฝ่ายบริหาร
ก็จะทำให้มีอำนาจต่อรองต่อประมุขของฝ่ายบริหารได้ เนื่องจากถ้าหากบุคคลนั้น
33 สมคิด เลิศไพฑูรย์, 2547, หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540
34 Jean Pierre Camby, Patrick Fraisseix and Jean Gicquel. (2008). La révision de
2008, une nouvelle constitution ? Paris : LGDJ, p.209