Page 41 - kpiebook66024
P. 41
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
“บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
.......
(3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่พรรคเดียว”
30
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดให้พรรคการเมืองสามารถขับสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรออกจากพรรคได้ ซึ่งการขับออกจากพรรคนี้ก็จะมีผลกระทบต่อ
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
31
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 : กำหนดให้
พรรคการเมืองสามารถใช้มติพรรคการเมืองขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ออกจากพรรคได้ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะไม่พ้นสมาชิกภาพถ้าหาก
สามารถหาพรรคใหม่มาสังกัดได้ภายใน 60 วัน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 : กำหนดให้
พรรคการเมืองสามารถใช้มติพรรคสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของ
คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากพรรคได้
และส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนนั้นพ้นจากสมาชิกภาพทันที
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 : กำหนดให้
พรรคการเมืองสามารถใช้มติพรรคขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจาก
พรรคได้ โดยส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนนั้นพ้นจากสมาชิกภาพ
ทันที
ที่สำคัญ ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
เป็นต้นมานั้น ยังมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนด้วยว่า ในกรณีที่สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรคนใดลาออกจากพรรคการเมือง ก็จะต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพทันที
แม้ว่าการบัญญัติกติกาดังกล่าวจะมีจุดประสงค์เพื่อทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง
มากขึ้น และสามารถส่งผลให้รัฐบาลในประเทศมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นก็ตาม
แต่ก็ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดอิสระเนื่องจากเมื่อนำความเป็นสมาชิก
พรรคการเมืองมาผูกอยู่กับความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
30 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มาตรา 117
31 iLaw, เรื่องเดียวกัน