Page 39 - kpiebook66024
P. 39

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           อังกฤษซึ่งสมาชิกรัฐสภาสามารถดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีได้ในขณะเดียวกัน
           โดยมองว่าการกำหนดเช่นนี้ทำให้รัฐมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งของฝ่ายบริหารนั้น
           มีจุดยึดโยงกับประชาชนอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และในขณะนั้นก็ยังไม่เกิดการตั้งคำถาม

           เรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหาร
           โดยรัฐสภาเลย

                 นอกจากนี้ ในส่วนของกลไกการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ตั้งแต่

           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ก็ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎร
           สามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยการตั้งกระทู้ถามได้ โดยอาจตั้งกระทู้
           ถามรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นหน้าที่การงานได้ แต่รัฐมนตรีก็มีสิทธิที่จะไม่ตอบได้

           ถ้าหากเห็นว่าประเด็นที่มีการถามนั้น เป็นประเด็นที่ยังไม่ควรเปิดเผย เนื่องจาก
           อาจจะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือเพื่อประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน  และรัฐธรรมนูญ
                                                                    24
           ฉบับต่อ ๆ มา ก็จะบัญญัติข้อความในลักษณะเดียวกัน จนกระทั้งมีการประกาศใช้

           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ก็ได้มีการบัญญัติเพิ่มเติมว่า


                 “การตอบกระทู้ถามตามวรรคหนึ่ง ให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่เป็น
           กระทู้ถามของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร หรือเป็นกระทู้ถามที่ประธาน

           วุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี เห็นว่าเป็นกรณีเร่งด่วน
           หรือเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวม หรือจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่
                                                                               25
           การบริหารราชการแผ่นดินจะกำหนดให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ ก็ได้”


                 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นการกำหนดให้อำนาจในการควบคุมการบริหาร
           ราชการแผ่นดินมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้ว การตั้งกระทู้ถามในช่วง พ.ศ. 2475

           จนถึงก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
           จะมีลักษณะเป็นการถามรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ปัญหา
                                            26
           ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสำคัญ  ส่วนการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนั้น

                 24  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 50
                 25  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 149 วรรคสอง
                 26  ตระกูล มีชัย และชมพูนุท ตั้งถาวร, 2565, การศึกษาอนาคตและฉากทัศน์การเมืองไทย
           เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในมิติของสถาบันการนเมือง รัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา,
           กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า หน้า VI
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44