Page 34 - kpiebook66024
P. 34

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           สามารถมั่นใจกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ และความมั่นใจต่อประชาชน
           ตลอดจนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล กล่าวคือ ถ้าหากรัฐบาล
           มีเสถียรภาพก็จะสามารถมุ่งไปที่การปฏิบัติงานเพื่อดูแลประชาชนได้อย่างเต็มที่

           แต่ถ้าหากรัฐบาลจะต้องคอยแก้ปัญหาหรือโต้เถียงกับสมาชิกรัฐสภาที่ตั้งกระทู้หรือ
           ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่เสมอ ก็อาจทำให้รัฐบาลต้องใช้เวลาไปกับเรื่องดังกล่าว
           จนไม่มีเวลาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อดูแลประชาชนก็ได้  15


                 จากแนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะเห็นได้ว่าการวางระบบ
           ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารนั้น วางอยู่บนพื้นฐานการสร้าง
           สมดุลระหว่างการตรวจสอบไม่ให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจหรือบังคับใช้กฎหมายไปในทาง

           ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน กับความมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพของ
           การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งแม้จะวางกลไกให้การตรวจสอบระหว่าง
           ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีความเข้มข้นที่มากขึ้นเนื่องจากเห็นว่าฝ่ายบริหารและ

           เสียงข้างมากของฝ่ายนิติบัญญัติในระบบนี้เป็นพวกเดียวกันก็ตาม ก็ต้องระวังไม่ให้
           การตรวจสอบนั้นมีกลไกที่ซับซ้อนจนเกินไป จนทำให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถทำงาน
           อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพได้
































                  15  ชาติชาย ณ เชียงใหม่. เรื่องเดียวกัน หน้า 35
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39