Page 31 - kpiebook66024
P. 31

1
 การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


                    (2)  การนำร่างกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
           ไปผ่านการออกเสียงประชามติ


                       ในกรณีของประเทศที่ประมุขของฝ่ายบริหารและประมุขของ
           ฝ่ายนิติบัญญัติมีที่มาจากคนละที่กัน ก็อาจเกิดกรณีที่ฝ่ายบริหารต้องการผ่าน
           ร่างกฎหมายบางประการที่อาจกระทบต่อโครงสร้างเชิงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ
           ส่งผลให้ฝ่ายนิติบัญญัติไม่ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว บางประเทศอย่างเช่นประเทศ

           ฝรั่งเศสอาจกำหนดให้ฝ่ายบริหารสามารถนำร่างกฎหมายดังกล่าวไปผ่านการออกเสียง
           ประชามติแทนการผ่านรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนให้ความเห็นชอบก็ได้

                    (3)  การกำหนดให้ฝ่ายบริหารสามารถยับยั้งร่างกฎหมาย


                       การใช้อำนาจในลักษณะนี้มักจะเป็นการบัญญัติให้ประมุขแห่งรัฐ
           เป็นผู้ใช้อำนาจ เพื่อยับยั้งร่างกฎหมายที่อาจจะออกมาโดยขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน
           ซึ่งในช่วงที่มีการยับยั้งร่างกฎหมาย ก็อาจทำให้มีการรับรู้ถึงมติสาธารณะเกี่ยวกับ

           ร่างกฎหมายนั้นได้


           2.3
แนวคิดเกี่ยวกับระบบรัฐสภาที่ทำให้มีเหตุผลขึ้น
           
     (Rationalized
Parliamentary
System)



                 ถ้าหากพิจารณาจากแนวคิดทั้งสองประการที่กล่าวถึงข้างต้น จะเห็นว่าประเทศ
           ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาซึ่งเลือกนำหลักการแบ่งแยกการใช้
           อำนาจมาใช้ ในที่สุดจะเกิดรูปแบบระบบรัฐสภาแบบอำนาจเดี่ยว (monist) ดังที่

           ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ได้สรุปในงานวิจัยเรื่อง “การจัดความสัมพันธ์ระหว่าง
           ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560” ว่า ระบบดังกล่าว
           จะนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่กลุ่มหรือพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาจะสามารถ

           กำหนดให้ผู้นำของกลุ่มหรือพรรคนั้นสามารถเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
           จึงอาจกล่าวได้ว่าบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นจะกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด
           ทั้งในทางบริหารและนิติบัญญัติ ที่สำคัญ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลายประเทศ

           ได้ตระหนักถึงปัญหานี้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในโลกตะวันตกอย่าง
           เยอรมนี ที่ระบบดังกล่าวได้ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการใช้ระบบรัฐสภาอาจนำไปสู่
           กรณีที่พรรคใดพรรคหนึ่งสามารถคุมเสียงข้างมากจนใช้อำนาจนิติบัญญัติและบริหาร
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36