Page 26 - kpiebook66024
P. 26

1
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ในการปกครองนั้น ควรแบ่งอำนาจออกเป็นสามส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ และ
           อำนาจบริหารกิจการภายในประเทศ และอำนาจบริหารกิจการภายนอกประเทศ
           โดยมองว่าอำนาจตุลาการนั้น รวมอยู่ในอำนาจนิติบัญญัติด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา

           สมาชิกสภาขุนนางมักจะดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาด้วย ทำให้ภาพการแบ่งแยก
           อำนาจระหว่างฝ่ายตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติของอังกฤษในขณะนั้นขาดความชัดเจน
           ซึ่งรูปแบบการปกครองของประเทศอังกฤษที่ถูกนำมาอธิบายให้เห็นผ่านหลักการ

           แบ่งแยกการใช้อำนาจนี้เป็นรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงหลังการปฏิวัติ
           อันรุ่งโรจน์ในช่วง ค.ศ. 1688 และหลักการดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาอธิบายอย่างเป็น
           รูปธรรมโดยมองเตสกิเออร์ (Montesquieu) ซึ่งตีความเรื่องการจัดวางอำนาจ

           ในการปกครองของระบอบการปกครองในประเทศอังกฤษขณะนั้นผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ
                                                                                 3
                 ถ้าหากพิจารณาจากงานเขียนของมองเตสกิเออร์โดยตรงแล้ว มองเตสกิเออร์เอง
           ก็ไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนโดยใช้คำว่า “หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจ”

           แต่มองเตสกิเออร์ได้เน้นว่าในการปกครองนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ
           ของผู้ปกครอง จำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ให้ “อำนาจยับยั้งอำนาจ” (le pouvoir
           arrête le pouvoir) ทั้งนี้ การตีความระบอบการปกครองของอังกฤษในขณะนั้น

           อย่างเข้าใจผิด ก็เป็นที่มาสำคัญของการวางระบอบการปกครองในประเทศ
           สหรัฐอเมริกา เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและมีการนำแนวคิดของ
           มองเตสกิเออร์มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยบัญญัติเรื่องการแบ่งแยกการใช้อำนาจ

           ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารอย่างชัดเจน  โดยถ้าหากพิจารณา
                                                                4
           งานเขียนของมองเตสกิเออร์แล้ว มองเตสกิเออร์ได้กล่าวว่า


                 “เมื่อใดอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารรวมอยู่ในบุคคลคนเดียวกัน หรือ

           ในคณะขุนนางคณะเดียวกัน เสรีภาพย่อมจะไม่มี เพราะอาจเกรงว่ากษัตริย์หรือ
           คณะบุคคลนั้นอาจออกกฎหมายแบบทรราชเพื่อบังคับกฎหมายโดยวิธีการแบบ
           ทรราช






                  3  Karl Loewenstein, The balance between legislative and executive power : A study
           in comparative constitutional law, The university of Chicago Law Review, p. 568
                  4  Ibid, p. 569
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31